Anda di halaman 1dari 12

1

บทที่ 1
ความหมายของสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographic Information System: GIS)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographic Information System) ประกอบดวยคํา 3 คํา คือ


ระบบ (System) ในที่นี้จะหมายถึงระบบคอมพิวเตอรทชี่ วยในการจัดเก็บ วิเคราะห และแสดงผล
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ขอมูลที่ไดผานการตีความ แปลความหมาย หรือผานการ
ประมวลผลมาแลว และคําวาทางภูมิศาสตร (Geographic) หมายถึง ขอมูลเกี่ยวกับโลกหรือศาสตร
ทางดานพื้นทีแ่ ละบริเวณตางๆ บนพื้นผิวโลก ดังนัน้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร จึงหมายถึงเปน
การรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห และแสดงผลขอมูลเชิงพื้นที่ โดยนําระบบคอมพิวเตอรเขามาชวยใน
การสืบคน เรียกดู วิเคราะห และแสดงผลขอมูลที่เราตองการใหสามารถทําไดอยางรวดเร็วยิ่งไปกวา
นั้นเรายังสามารถนําขอมูลที่ไดจากการวิเคราะห ไปใชในกระบวนการตัดสินใจของผูบริหารเพื่อ
การปฏิบัติงานอื่นๆตอไปได ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรจึง เปนเครื่องมือที่ชวยอํานวยความ
สะดวกในการแสดงใหเห็นถึงความสัมพันธระหวางขอมูลเชิงพื้นที่และขอมูลเชิงบรรยาย ที่ชวยใน
การวางแผนและตัดสินใจ ซึ่งความหมายของ GIS นั้นไดมีผูนิยามกันไวมากมาย เชน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร เปนเครื่องมือที่ใชเพื่อรวบรวม จัดเก็บ นําสารสนเทศนั้นกลับมา


ใชได และถาตองการก็ยังสามารถแปลงระบบการจัดเก็บ รวมทั้งสามารถแสดงสารสนเทศเชิงพื้นที่
ตามลักษณะทีต่ องการได (Burrough, P.A. Principle of Geographical Information Systems for
Land Resource Assessment. New York Clarendon Press, 1986)

GIS เปนระบบของคอมพิวเตอรฮารดแวร ซอฟทแวร และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บ การ


จัดการ การจัดทํา การวิเคราะห การทําแบบจําลอง และการแสดงขอมูลเชิงพื้นที่ เพื่อแกปญหาการ
วางแผนที่ซับซอน และปญหาในการจัดการ (Federal Interagency Coordinating Committee
,1988)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรประกอบไปดวยระบบคอมพิวเตอร ระบบโปรแกรมสารสนเทศทาง
ภูมิศาสตรและบุคลากร ซึ่งมีหนาที่จดั การในสิ่งตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการรวบรวมสารสนเทศที่
ตองการ เพื่อทําการแปลงเขาจัดเก็บในระบบ การปรับปรุง การจัดการ การวิเคราะห และการแสดง
สารสนเทศภูมิศาสตรเหลานั้นในรูปแบบทีม่ ีการอางอิงพิกัดทางภูมิศาสตรไดตามตองการ
(Environmental Systems Research Institute, Inc. Understanding GIS The ARC/INFO Method,
1992.)

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


2

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปรียบเสมือนแปลงทดลองสําหรับศึกษากระบวนการทาง
สิ่งแวดลอมหรือสําหรับวิเคราะหคาดการณผลที่อาจเกิดจากแนวโนมของปรากฏการณหรือผลที่
อาจเกิดจากการตัดสินใจตามแผน โดยหลักการ ผูวางแผนสามารถตรวจสอบสถานการณจําลอง
ที่เปนไปไดหลายแบบและสามารถสรางความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดจากแนวทางดําเนินการ
แตละอยางกอนที่ขอผิดพลาดจะเกิดกับภูมทิ ัศนจริง (ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตรเพื่อการประเมินคาทรัพยากรที่ดนิ . 2537 : 14)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographical Information System – GIS) คือระบบที่ใช


คอมพิวเตอรเปนอุปกรณหลักสําคัญในการจัดการเกีย่ วกับขอมูลและขาวสาร ตั้งแตการรวบรวม
การจัดเก็บขอมูล การวิเคราะหขอมูล ตลอดจนการเสนอผลการวิเคราะหประเมินผลขอมูลเชิงซอน
ทั้งหมดใหอยูใ นรูปแบบที่สามารถนําไปใชประโยชนในดานตาง ๆ ตามความตองการ โดยอาศัย
ลักษณะทางภูมิศาสตรเปนตัวเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางขอมูลขาวสารตางๆ (สุวิทย วิบูลย
เศรษฐและไพบูลย เรืองศิริ เอกสารสรุปผลการประชุมทางวิชาการ การจัดการทรัพยากรและ
สิ่งแวดลอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2540 : 240)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographic Information System) หรือ GIS นับเปน


เทคโนโลยีสารสนเทศแขนงหนึ่งที่มีความพิเศษและมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกตางไปจากระบบ
สารสนเทศชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะความสามารถในการเชื่อมโยงขอมูลเชิงพื้นที่เขากับขอมูลเชิง
บรรยายไดอยางมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความสามารถในการวิเคราะหและนําเสนอขอมูลเชิงพื้นที่
ในรูปแบบของแผนที่ซึ่งเปนเสมือนตัวแทนอางอิงตําแหนงบนพื้นผิวโลกจริง ซึ่งผูใชสามารถทํา
การเรียกคนขอมูลไดจากแผนที่ที่เห็นโดยตรง และสามารถนําขอมูลจากหลากหลายรูปแบบมาทํา
การวิเคราะหรว มกัน เชน ภาพถายทางอากาศ (Arial Photo) ภาพถายดาวเทียม (Satellites Photo)
หรือขอมูลจากการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing) อื่น ๆ มาวิเคราะหรวมกัน ทําให GIS เปนที่
นิยมใชกันอยางแพรหลายในการบริหารจัดการขอมูลเชิงพื้นที่ (วรเดช จันทศรและสมบัติ อยูเมือง
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรในการบริหารภาครัฐ,2545:9)

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


3

เทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร
เทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับ GIS ที่สําคัญ คือ รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) ที่ใชการโคจร
ของดาวเทียมเพื่อเก็บสารสนเทศเกีย่ วกับพื้นผิวโลก ตามชนิดของคลื่นแมเหล็กไฟฟาที่จะรับ
สัญญาณและสงผานมายังสถานีรับบนโลกแลวถูกแปลงใหอยูใ นรูปของขอมูลภาพดิจิตอล ซึ่ง
โดยทั่วไปแลว รีโมทเซ็นซิงมักใชเปนขอมูลพื้นฐานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร นอกจากนีแ้ ลว
ยังมีเทคโนโลยีดาน GPS (Global Positioning System)ซึ่งเปนระบบของการโคจรของดาวเทียม
รอบโลก เพื่อสงผานขอมูลเชิงตําแหนงบนโลกมายังเครื่องรับทําใหเราสามารถระบุตําแหนงตางบน
พื้นผิวโลก และเมื่อรวม GIS, RS และ GPS เขาดวยกันก็จะเรียกวาภูมสิ ารสนเทศหรือ
Geoinfomatics หรือ Geomatics

รีโมทเซนซิง หมายถึง การบันทึกหรือการไดมาซึ่งขอมูลขาวสารเกี่ยวกับวัตถุ พื้นทีเ่ ปาหมายดวย


อุปกรณบันทึกขอมูล (Sensor) โดยปราศจากการสัมผัสกับวัตถุนั้นๆ โดยตรง ซึ่งอาศัยคุณสมบัติ
ของคลื่นแมเหล็กไฟฟาเปนสื่อในการไดมาของขอมูลใน 3 ลักษณะ คือ คุณสมบัติทางชวงคลื่น
(Spectral) คุณสมบัติทางพื้นที่ (Spatial) และคุณสมบัติตามชวงเวลา (Temporal) ของสิ่งตางๆ บน
พื้นผิวโลก ระบบรีโมทเซนซิง ถาแบงตามแหลงกําเนิดพลังงานที่กอ ใหเกิดคลื่นแมเหล็กไฟฟา มี 2
กลุมใหญๆ คือ
Passive remote sensing โดยมีแหลง พลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตยเปน
แหลงกําเนิดพลังงาน ระบบนี้จะรับและบันทึกขอมูลได สวนใหญในเวลากลางวัน และมีขอจํากัด
ดานภาวะอากาศ ไมสามารถรับขอมูลไดในฤดูฝน หรือเมื่อมีเมฆ หมอก ฝน
Active remote sensing เปนระบบที่อาศัยแหลงพลังงานที่เกิดจากการสรางขึ้นในตัวของ
เครื่องมือสํารวจเอง เชน ชวงคลื่นไมโครเวฟที่สรางในระบบเรดาห แลวสงพลังงานนั้นไปยังพื้นที่
เปาหมาย ระบบนี้ สามารถทําการรับและบันทึกขอมูล ไดโดยไมมขี อจํากัดดานเวลา หรือ ดาน
สภาวะภูมิอากาศ คือสามารถรับสงสัญญาณไดทั้งกลางวันและกลางคืน อีกทั้งยังสามารถทะลุผาน
กลุมเมฆ หมอก ฝน ทําใหสามารถบันทึกขอมูลไดในทุกฤดูกาล
ในชวงแรกระบบ Passive remote sensing ไดรับการพัฒนามากอน และยังคงใชกันอยาง
แพรหลายในปจจุบัน สวนระบบ Active remote sensing มีการพัฒนาจากวงการทหาร แลวจึง
เผยแพรเทคโนโลยีนี้ตอกิจการพลเรือนในชวงหลัง การสํารวจในดานนี้ไดรับความสนใจมากขึน้
โดยเฉพาะกับประเทศในเขตรอนที่มีปญหาเมฆ หมอก ปกคลุมอยูเปนประจํา
การวิเคราะหขอ มูล (Data analysis)ภาพถายดาวเทียม ประกอบดวยวิธีการ ดังตอไปนี้
1) การวิเคราะหขอมูลดวยสายตา (Visual interpretation) เปนการแปลตีความจากลักษณะ
องคประกอบของภาพ โดยอาศัยการพิจารณาปจจัยดานตางๆ ไดแก สีและโทนสี (Color, Shade,

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


4

Tone) เงา (Shadow) รูปทรง (Form) ขนาดของวัตถุ (Size) รูปแบบ (Pattern) ลวดลายหรือ ลายเนื้อ
(Texture) และองคประกอบทางพื้นที่ (Spatial components) ซึ่งเปนหลักการตีความ เชนเดียวกับการ
แปลภาพถายทางอากาศ
2) การวิเคราะหขอมูลดวยคอมพิวเตอร (Digital analysis) เปนการตีความ คนหาขอมูลที่
ตองการ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตรและสถิติ ซึ่งการที่มีขอมูลจํานวนมาก จึงไมสะดวกที่จะ
ทําการคํานวณดวยมือได ดังนั้นจึงมีการนําคอมพิวเตอรมาใช ชวยใหรวดเร็วยิ่งขึ้นในการ
ประมวลผล สําหรับวิธีการแปลหรือจําแนกประเภทขอมูลมีอยู 2 วิธหี ลักๆ คือ การแปลแบบกํากับ
ดูแล (Supervised classification) หมายถึง การที่ผูแปล เปนผูกําหนดตัวอยางของประเภทขอมูล
ใหแกคอมพิวเตอร โดยใชการเลือกพื้นที่ตวั อยาง (Training areas) จากความรูดานตางๆเกี่ยวกับ
พื้นที่ศึกษา รวมทั้งจากการสํารวจภาคสนาม การแปลแบบไมกํากับดูแล (Unsupervised
classification) เปนวิธีการทีผ่ ูแปล ใหคอมพิวเตอรแปลขอมูลเอง โดยใชหลักการทางสถิติในการ
จําแนก โดยผูแ ปลจะกําหนดจํานวน ประเภทขอมูล (Classes) ที่ตองการใหแกเครือ่ ง โดยไมตอง
เลือกพื้นที่ตวั อยางให ผลลัพธที่ไดจากการแปลจะตองมีการตรวจสอบความถูกตองและความ
นาเชื่อถือ กอนนําไปใชงานโดยการเปรียบเทียบกับสภาพจริงหรือขอมูลที่นาเชื่อถือได
คุณสมบัติของภาพจากดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดาวเทียมจะทําการบันทึกขอมูลเปน
บริเวณกวาง (Synoptic view) ทําใหไดขอมูลภาพดาวเทียม ที่สามารถนํามาศึกษาสภาพแวดลอม
ตางๆ ในบริเวณกวาง และตอเนื่องในเวลาเดียวกันทั้งภาพ เชน ภาพจาก LANDSAT MSS และ TM
หนึ่งภาพคลุมพื้นที่ 185X185 ตร.กม. หรือ 34,225 ตร.กม. ภาพจาก SPOT คลุมพื้นที่ 3,600 ตร.กม.
เปนตน
การบันทึกภาพไดหลายชวงคลื่น ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรมีระบบกลองสแกนเนอร ที่
บันทึกภาพไดหลายชวงคลื่นในบริเวณเดียวกัน ทั้งในชวงคลื่นที่เห็นไดดวยตาเปลา และชวงคลื่น
นอกเหนือสายตามนุษย ทําใหแยกวัตถุตางๆ บนพื้นผิวโลกไดอยางชัดเจน เชน ระบบ TM มี 7 ชวง
คลื่น เปนตน
การบันทึกภาพซ้ําบริเวณเดิม (Repetitive coverage) ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรมีวงโคจร
จากเหนือลงใต และกลับมายังจุดเดิมในเวลาทองถิ่นอยางสม่ําเสมอและในชวงเวลาที่แนนอน เชน
LANDSAT ทุก ๆ 16 วัน SPOT ทุกๆ 20 วัน เปนตน ทําใหไดขอมูลบริเวณเดียวกันหลายๆ ชวงเวลา
ที่ทันสมัยสามารถเปรียบเทียบและติดตามการเปลี่ยนแปลงตางๆ บนพื้นผิวโลกไดเปนอยางดี และมี
โอกาสที่จะไดขอมูลไมมีเมฆปกคลุม
การใหรายละเอียดทางพื้นทีไ่ ดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมใหรายละเอียดหลายระดับ มี
ผลดีในการเลือกนําไปใชประโยชนในการศึกษาดานตางๆ ตามวัตถุประสงค เชน ภาพจากดาวเทียม
SPOT ระบบ PAN มีรายละเอียด 10 ม. สามารถศึกษาตัวเมือง เสนทางคมนาคมระดับหมูบา น

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


5

ภาพสีระบบ XS มีรายละเอียด 20 ม. ศึกษาการบุกรุกพืน้ ที่ปาไมเฉพาะจุดเล็กๆ และแหลงน้ําขนาด


เล็ก และภาพระบบ TM รายละเอียด 30 ม. ศึกษาสภาพการใชที่ดินระดับจังหวัด เปนตน

ระบบกําหนดตําแหนงบนพืน้ โลก (GPS)


จีพีเอส (GPS) เปนระบบกําหนดตําแหนงบนพื้นโลก ซึ่งระบบนี้ไดพัฒนาขึน้ โดย
กระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จัดทําโครงการ Global Positioning System มาตั้งแตป
พ.ศ. 2521 โดยใชดาวเทียมและระบบวิทยุนํารองเปนพื้นฐานในการกําหนดตําแหนงคาพิกัดของ
เครื่องรับ (Receiver) ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะมีจํานวนดาวเทียมทั้งหมด 24 ดวง พรอมดวยสถานี
ควบคุมภาคพืน้ ดิน เพื่อใหระบบจีพีเอสสามารถที่จะทํางานไดทุกสภาวะและตลอด 24 ชั่วโมง
ลักษณะการทํางานในการกําหนดคาพิกัดของระบบ จีพีเอสทําไดดวยการนําเครื่องรับไปยัง
ตําแหนงทีต่ องการจะทราบคาพิกัด จากนัน้ เครื่องรับจะรอรับสัญญาณจากดาวเทียม เมื่อเครื่องรับได
สัญญาณจากจํานวนดาวเทียม ไดอยางนอย สามดวงก็เพียงพอที่จะประมวลผลออกมาเปนคาพิกัด
ของตําแหนง เอ็กซ วาย (X,Y) ของเครื่องรับ ซึ่งการประมวลผลใจใชระยะเวลาอันรวดเร็วมากเมื่อ
เทียบกับการรังวัดในแบบเดิม และความถูกตองของคาพิกัดที่ไดจากระบบจีพีเอส จะขึ้นอยูกบั
ความสามารถของอุปกรณเครื่องรับซึ่งอาจจะมีความถูกตองไดถึงในระดับ 1 เซนติเมตร ซึ่งแตเดิม
นั้นกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาไดลดคาความถูกตองของเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสโดยการสง
คา Selective Availability (SA) ออกมาเพือ่ ทําใหการคํานวณคาพิกัดคลาดเคลื่อนไป แตในปจจุบนั
นี้ไดมีการยกเลิกการสงคา SA เพื่อรบกวนความถูกตองของระบบจีพีเอสแลว ทําใหระบบจีพีเอส
สามารถที่จะในการจัดเก็บคาพิกัดไดดว ยความรวดเร็ว มีความถูกตองสูง และสามารถทํางานได
ตลอดเวลา ทําใหมีการนําระบบจีพีเอสไปใชในงานดานตางๆกันอยางกวางขวางโดยเฉพาะอยางยิง่
ในงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร หรืองานทางดานการทําแผนที่ และงานทางดานการ
สํารวจ ซึ่งดาวเทียมที่ใชในการสํารวจดวยระบบจีพีเอส จะมีดว ยกันทัง้ หมดในปจจุบัน 24 ดวงและ
โคจรครอบคลุมทั่วทั้งโลก และหากเครื่องรับสัญญาณไดรับดาวเทียม 4 ดวงก็จะสามารถกําหนดคา
พิกัดพรอมทั้งคาความสูง(Z) ของตําแหนงเครื่องรับนั้นไดดวย

การใชงาน จีพเี อส ในปจุจุบันมีดังนี้


1. ใชระบุตําแหนงโดยสามารถระบุตําแหนง ณ จุดใดๆบนพื้นผิวโลก
2. ใชในนําทางในการเดินปา หรือ การนําทางรถยนตใหไปถึงจุดหมายปลายทางไดอยางถูกตอง
เชน การใชจีพเี อส ติดกับรถยนตรวมกับขอมูลแผนที่ดิจติ อลเพื่อใหทราบวาเราตองเดินทางไปใน
ทิศทางใด

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


6

3. ใชในการทําแผนที่ โดยเครื่องรับ จีพีเอส สามารถสงขอมูลไปยัง ระบบGIS เพื่อใชในการสราง


แผนที่ที่มีความถูกตอง
4. ใชติดตามความเคลื่อนไหวของรถยนต เครื่องบิน และเรือ หรือการปองกันการโจรกรรม
ทรัพยสิน

วิธีการบอกตําแหนงของจีพีเอสทําได 2 แบบ คือ


1. การบอกตําแหนงดวยโหมดมาตรฐาน (Standard Positioning Service: SPS)
การบอกตําแหนงโหมดนี้ เปดใหใชไดโดยเสรีไมมีการเขารหัสใดๆ แตขอมูลที่ไดจากการบอก
ตําแหนงโหมดมาตรฐานจะมีความคลาดเคลื่อนมากกวาการบอกตําแหนงโหมดละเอียด คือ 100
เมตร ในแนวนอน 156 เมตร ในแนวตั้ง และความคลาดเคลื่อนของ Coordinated Universal Time
(UTC) 340 nsec

2. การบอกตําแหนงโหมดละเอียด (Precise Positioning Service: PPS)


การบอกตําแหนงโหมดนี้ ออกแบบมาเพื่อใชกับทางทหาร งานสํารวจทีต่ องการความถูกตอง
แมนยําสูง หรืองานที่ไดรับอนุญาตเปนพิเศษจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเทานั้น ขอมูล
ที่ไดจะถูกเขารหัสไวเพื่อไมใหผูที่ไมไดรับอนุญาตลักลอบนําขอมูลไปใช ขอมูลที่ไดมีความ
เที่ยงตรงกวาการบอกตําแหนงโหมดมาตรฐานมากคือ 22 เมตร ในแนวนอน และ 27.7 เมตร ใน
แนวตั้ง และความคลาดเคลื่อนของ UTC 200 nsec

องคประกอบหลักของระบบจีพีเอส
ระบบจีพีเอส ประกอบดวย 3 สวน คือ สวนอวกาศ (Space segment) สวนควบคุม (Control
segment) และสวนผูใชงาน (User segment)

1. สวนอวกาศ (Space segment)


ดาวเทียม GPS มีทั้งหมด 24 ดวง โคจรอยูที่ระดับความสูง 20,162.61 กิโลเมตร เหนือเสนศูนย
สูตร โดยแบงระนาบการโคจร (Orbital plane) ออกเปน 6 ระนาบ ทํามุม 60 องศา ระหวางกันโดย
แตละระนาบจะมีดาวเทียมระนาบละ 4 ดวง แตละวงโคจรของดาวเทียมทํามุม 55 องศากับแนวเสน
ศูนยสูตร ดาวเทียมแตละดวงใชเวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบประมาณ 11 ชั่วโมง 58 นาที

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


7

รูปที่ 1 แสดงวงโคจรของดาวเทียมในระนาบทั้ง 6 ระนาบ

2. สวนควบคุม (Control segment)


สวนควบคุมประกอบดวยสถานีที่ทําหนาที่ควบคุมและสังเกตการทํางานของดาวเทียมใหอยู
ในสภาพที่ถูกตองอยูเสมอ โดยสวนควบคุมจะสงขอมูลการโคจร (Navigation massage) ไปยัง
ดาวเทียมวันละครั้ง หรือตามที่ตองการ โดยสวนควบคุมมีทั้งหมด 5 สถานี กระจายอยูทวั่ โลก
ไดแก สถานี Hawaii, สถานี Colorado Springs, สถานี Ascension Island, สถานี Diego Garcia และ
สถานี Kwajalein Island โดยสถานีควบคุมหลักจะอยูที่ Falcon Air Force Base ใน Colorado
Springs รัฐ Colorado

รูปที่ 2 แสดงตําแหนงของสถานีควบคุม

3. สวนผูใช (User segment)


ระบบจีพีเอส สามารถนําไปประยุกตใชงานไดหลายรูปแบบขึ้นอยูก ับความตองการของผูใช
เชน ใชเปนระบบนํารองของเครื่องบิน, ใชเปนระบบนําทางติดรถยนตหรือเรือ ใชในการหา
ตําแหนง ซึ่งการใชงานจะตองทําผานอุปกรณที่เรียกวา ตัวรับสัญญาณจีพีเอส (GPS Receivers) ที่ทํา
หนาที่รับสัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอส แลวถอดรหัสสัญญาณเพื่อนําไปใชในการประมวลผลหา
ตําแหนงตอไป ในการที่จะระบุตําแหนงไดทั้งคา x,y,zจะตองมีการรับสัญญาณจากดาวเทียมพรอม
กันอยางนอย 4 ดวง ดังรูป
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ
8

รูปที่ 3 แสดงการระบุตําแหนงจากดาวเทียม

4. การบอกพิกดั ตําแหนงของระบบ GPS


ระบบ GPS ทําใหเราทราบตําแหนงโดยวิธกี ารจับเวลาการเดินทางของสัญญาณที่เดินทางจาก
ดาวเทียมมายังเครื่องรับ แลวนํามาคํานวณหาระยะหางระหวางดาวเทียมดวงนัน้ กับเครื่องรับ เรา
สามารถหาตําแหนงไดโดยการวัดระยะกับดาวเทียมหลายๆดวง จากรูปจะเห็นวา ตําแหนงของ
เครื่องรับ คือจุดตัดรวมกันของวงกลมทั้ง 3 สิ่งสําคัญในการหาตําแหนงคือ เครื่องรับและเครื่องสง
ตองมีฐานเวลาตรงกัน ไมเชนนั้น จะทําใหการบอกพิกดั เกิดความคลาดเคลื่อนได

รูปที่ 4 แสดงการหาตําแหนงโดยใชจดุ กําเนิดสามจุด

นอกจาก RS และ GPS แลวยังมีสาขาดานอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับ GIS ไดแก Computer


Science, Cartography, Survey.

วิทยาศาสตรคอมพิวเตอร (Computer Science) ในปจจุบันนี้เทคโนโลยีและองคความรู


ทางดานคอมพิวเตอรไดพฒ ั นาไปอยางรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง ทําใหสามารถทํางานได
รวดเร็วมากขึน้ ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร ไดแก อุปกรณและวิธกี าร
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ
9

หรือโปรแกรมที่ใชในการนําเขาขอมูล ระบบการบันทึกหรือจัดเก็บสํารองขอมูล ตลอดจนการ


แสดงผลหรือการสงออกขอมูล GIS ซึ่งผลกระทบของความกาวหนาทางดานฮารดแวร และ
ซอฟทแวร จะทําใหเกิดผลโดยตรงตอการใชและการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

การทําแผนที่ (Cartography) เปนศาสตรในการทําแผนที่ การใหสัญลักษณ ใหสี ให


ลายเสน รูปแบบของแผนที่ มาตราสวน การ Generalize การยอขยายแผนที่ ซึ่งสงผลโดยตรงตอ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร ที่มักแสดงแสดงผลในรูปของแผนที่เปนสวนใหญ

การสํารวจ (Survey) เปนศาสตรในการเก็บขอมูลในภาคสนาม โดยอาศัยความรูเชิง


วิศวกรรมในการใชเครื่องมือในการสํารวจ เชน กลองวัดมุมในการจัดทําวงรอบของพื้นที่ศึกษา
กลองวัดระดับในการจัดทําระดับความสูงในพื้นที่ศึกษา และการคํานวณโครงรางอางอิงกับพิกัด
ภูมิศาสตร การถายคาหมุดหลักฐานอางอิงไปยังจุดสํารวจตางๆ ดังนัน้ วิชาการสํารวจจึงมีผลสําคัญ
ตอการพัฒนา GIS อยาง

จากขอมูลที่ไดกลาวมาแลวนัน้ จะเห็นไดวาระบบสารสนเทศภูมิศาสตรนั้นเปนเพียง
เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่ชวยใหสามารถตอบคําถามที่เกี่ยวกับความสัมพันธดานพื้นที่ รวมถึง
ชวยในการตัดสินใจในการบริหารและจัดการทรัพยากรทีม่ ีอยูอยางจํากัด ใหสามารถนําไปใชงาน
ไดอยางเต็มประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แตระบบสารสนเทศภูมิศาสตรนั้นก็ไม
สามารถทําทุกอยางได ดังนั้นจึงควรทราบวาระบบสารสนเทศภูมิศาสตรสามารถทําอะไรและไม
สามารถทําอะไรไดบาง ดังนี้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร(GIS) สามารถทําอะไรไดบา ง

1. Location What is at…? ตอบคําถามวามีอะไรอยูที่ไหน ซึ่งมักเปนคําถามแรกที่ GIS สามารถตอบ


ได คือ มีอะไรอยูที่ไหน หากผูถามรูตําแหนง ที่แนนอน เชน ทราบชื่อหมูบ าน ตําบล หรืออําเภอ แต
ตองการรูวาตําแหนงนั้นๆ ที่รายละเอียดขอมูลอะไรบาง

2. Condition Where is it? ตอบวาสิ่งที่อยูในขอกําหนด(Criteria) ที่ระบุมานั้น อยูทไี่ หน คําถามนี้จะ


ตรงกันขามกับคําถามแรก และตองมีการวิเคราะหขอมูล ยกตัว อยางเชน เราตองการทราบวาบริเวณ
ใด มีคุณลักษณะตรงตามที่เรากําหนด เชน เปนบริเวณทีม่ ีดินเหมาะสมตอการเพาะปลูกพืช อยูใกล
แหลงน้ํา และไมอยูในเขตปาอนุรักษ เปนตน

3. Trends What has changed since…? สามารถบอกไดวา ในชวงระยะที่ผานมามีแนวโนมการ


เปลี่ยนแปลงเปนอยางไรและในอนาคตจะเปนอยางไรบาง เปนการวิเคราะหการเปลี่ยนแปลงใน
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ
10

ระยะชวงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งคําถามนี้จะเกีย่ วของกับคําถามที่หนึ่งและคําถามที่สอง วาตองการ


ทราบการเปลี่ยนแปลงของอะไร และสิ่งที่ไดเปลี่ยนแปลงอยูที่ไหน มีขนาดเทาไร เชน การหาพืน้ ที่
เสี่ยงตอการเกิดอุทกภัย หรือภัยแลว เปนตน

4. Patterns What spatial patterns exist? สามารถบอกไดวารูปแบบของความสัมพันธเชิงพื้นที่เปน


อยางไร เปนกลุมเปนกอน กระจุกตัว กระจายตัว เปนตน คําถามนี้คอนขางจะซับซอนกวาคําถามที่
1-3 ตัวอยางของคําถามนี้ เชน เราอยากทราบวาปจจัยอะไรเปนสาเหตุของการเกิดโรคทองรวงของ
คนที่อาศัยอยูเชิงเขา หรือเชื้อโรคมาจากแหลงใด การตอบคําถามดังกลาว จําเปนตองแสดงทีต่ ั้ง
แหลงมลพิษตางๆ ที่อยูใกลเคียง หรืออยูเหนือลําธาร ซึ่งลักษณะการกระจาย และตําแหนงทีต่ ั้งของ
สถานที่ดังกลาว ทําใหเราทราบถึงความสัมพันธของปญหาดังกลาว เปนตน

5. Modeling What if…? สามารถสรางแบบจําลองเพื่อตอบคําถามวาจะมีอะไรเกิดขึ้นหาก... คําถาม


นี้จะเกี่ยวของกับการคาดการณวาจะมีอะไรเกิดขึ้นหากมีปจจัยอิสระ (Independence factor) เปนตัว
ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลง เชน จะเกิดอะไรขึ้นหากมีการตัดถนนเขาไปในพื้นที่ปาสมบูรณ การ
ตอบคําถามเหลานี้บางครั้งตองการขอมูลอื่นเพิ่มเติม หรือใชวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห เปน
ตน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร(GIS) ไมสามารถทําอะไรไดบาง

1. ไมสามารถปรับปรุงคุณภาพของขอมูลดิบ (Raw data) ใหมีความถูกตอง หรือแมนยําขึ้นได


ยกตัวอยางเชน ไดนําเขาขอมูลแผนที่ดิน มาตราสวน 1:100,000 ถึงแมวา GIS สามารถพิมพแผนที่
ในมาตราสวน 1:50,000 แตความแมนยําของขอมูลยังคงเทากับขอมูลที่นําเขาเดิมคือ 1:100,000

2. ไมสามารถระบุความผิดพลาดของขอมูลอรรถาธิบายได ยกตัวอยางเชน เจาหนาที่ GIS ไดนําเขา


ขอมูลดินทราย แตไดกําหนดขอมูลดังกลาวผิดพลาดไปเปนดินรวนปนทราย GIS ก็ไมสามารถบอก
ไดวาพื้นที่ดังกลาวใหรายละเอียดขอมูลผิด

3. ไมสามารถระบุไดวาแบบจําลองในการวิเคราะห หรือเงื่อนไขตางๆ ที่นักวิเคราะห GIS หรือผูมี


อํานาจตัดสินใจไดเลือกไปนัน้ ถูกตองหรือไม เพราะ GIS เปนเพียงเครื่องมือ ที่นํามาใชในการ
วิเคราะหขอมูลเทานั้น

4. ไมทราบมาตรฐานหรือรูปแบบแผนทีท่ ี่เปนสากล ยกตัวอยางเชน ขอมูล GIS ชุดเดียวกัน แตถา


ใหนกั วิเคราะห GIS 2 ทาน มาจัดทําแผนที่ จะไดแผนทีไ่ มเหมือนกัน ความสวยงามแตกตางกัน
ขึ้นอยูกับประสบการณและความรูของผูผลิตแผนที่เปนหลัก
เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ
11

5. GIS ไมสามารถทดแทนความรู ความสามารถ ของผูเชี่ยวชาญได ยกตัวอยางเชน การวิเคราะหหา


พื้นที่ที่เหมาะสมตอการใชประโยชนที่ดนิ ยังมีความจําเปนจะตองมีผูเชี่ยวชาญเรื่องดินและการ
วางแผนใชที่ดนิ เปนผูกําหนดปจจัยหรือเงือ่ นไขตางๆ นักวิเคราะห GIS ถึงแมวาจะมีประสบการณ
ในการใชโปรแกรม หรือมีขอมูลเชิงพื้นที่และขอมูลอธิบายครบถวน ไมสามารถดําเนิน การ
วิเคราะหดังกลาวใหไดผล ที่เปนที่ถูกตองตามหลักวิชาการได เพราะไมไดมีความรูเ รื่องนั้นๆ

การประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

ปจจุบันนี้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนระบบที่กําลังไดรับความสนใจอยางแพรหลาย
และถูกนํามาใชงานในดานตางๆ อยางกวางขวาง โดยเฉพาะการใชเปนเครื่องมือสําหรับชวยในการ
ตัดสินใจ ของนักวางแผน หรือผูบริหาร ทั้งนี้เพราะ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรจะนําขอมูลพื้นฐาน
ตางๆ ที่มีอยูมาวิเคราะห และผสมผสานความสัมพันธของแตละปจจัยเพื่อใหไดผลลัพธที่ตองการ
โดยสามารถแสดงผลในรูปที่เขาใจไดงาย และใหความถูกตองของขอมูลที่สามารถยอมรับได ทําให
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรไดรับการยอมรับจากศาสตรตางๆ และสาขาอื่นๆ เชน วิศวกรรมสํารวจ
การสัมผัสระยะไกล(Remote Sensing) และงานวางผังตางๆ เปนตน ไดมีการนําระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตรเขาไปประยุกตใชกับงานในดานตางๆ สรุปไดดังนี้
ดานการเกษตร มีการใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร เปนเครือ่ งมือในการหาความ
เหมาะสมของพื้นที่ (Land Suitability) การปลูกพืชเกษตร แตละชนิด ตัวอยางเชน การทํา Land
Suitability Map สําหรับการปลูกพืชชนิดตางๆ
งานดานปาไมและสัตวปา มีการใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรในการกําหนดพืน้ ที่ที่
เหมาะสมในการปลูกสรางสวนปาทั้งในแงเศรษฐกิจ และ การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
การศึกษาความสามารถในการรองรับของพื้นที่ปาไม ในการนําไมออกจากปา โดยเสียคาใชจายและ
ทําลายสิ่งแวดลอมของปาไมนอยที่สุด การติดตามการทําไม ในพืน้ ที่สัมปทานตางๆ การวางแผน
การจัดการอุทยานแหงชาติ การประเมินลักษณะถิ่นอาศัยของสัตวปา และการศึกษาการวางทอน้ํา
ผานปาไมโดยไมมีผลกระทบตอการใชเสนทางของสัตวปา เปนตน
งานดานสิง่ แวดลอม มีการใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเครื่องมือในการหาพืน้ ที่ที่
เหมาะสมสําหรับทิ้งขยะของเมืองตางๆ หรือ การศึกษาผลกระทบจากเสียงดังที่เกิดจากสนามบิน
ตอคุณภาพการไดยินของประชาชนที่อาศัยอยูโดยรอบสนามบิน ซึ่งจะใชคาความสัมพันธระหวาง
ระยะทางกับความดังของเสียงที่เกิดขึ้นเปนเกณฑ นอกจากนี้ยังมีการใช GIS ในการเลือกพื้นที่
เหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ที่จะกระทบตอการดํารงชีวิตของมนุษยใหนอยที่สุด หรือ

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ


12

การศึกษาวิเคราะห ผลเสียหายที่เกิดจากความแหงแลงของโลก (Desertification Hazards Analysis)


หรือ การศึกษาวิเคราะหและพยากรณเรื่องน้ําทวม เปนตน
งานดานการคมนาคมขนสง มีการใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรในการวางทอสงกาซ หรือ
ใชในการหาเสนทางเดินรถในการขนสงสินคาที่เหมาะสม และรวดเร็วที่สุด
งานดานสาธารณสุข มีการใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรในงานวางแผนการใหบริการทาง
สาธารณสุข โดยใชขอมูลเกีย่ วกับประชากร โรคระบาด ที่ตั้ง ของบานผูปวย งบประมาณของ
ทองถิ่น และคาใชจายตางๆ ในการใหบริการ เปนตน เพื่อใชในการวิเคราะห และประเมินศักยภาพ
ของพื้นที่ ในการใหบริการสาธารณสุขที่ปรากฏอยูในปจจุบัน และวางแผนการใหบริการสอดคลอง
กับแนวโนมการ เปลี่ยนแปลงภายในพืน้ ที่ เปนตน

เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 451453 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร I อ.สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ

Anda mungkin juga menyukai

  • Gis1 3
    Gis1 3
    Dokumen22 halaman
    Gis1 3
    Kasu_777
    Belum ada peringkat
  • Gis1 2
    Gis1 2
    Dokumen10 halaman
    Gis1 2
    Kasu_777
    Belum ada peringkat
  • Gis1 5
    Gis1 5
    Dokumen12 halaman
    Gis1 5
    Kasu_777
    100% (1)
  • Gis1 4
    Gis1 4
    Dokumen14 halaman
    Gis1 4
    Kasu_777
    Belum ada peringkat
  • Latex
    Latex
    Dokumen67 halaman
    Latex
    Pornthep Kamonpetch
    Belum ada peringkat