Anda di halaman 1dari 66

thaicover copy.

pdf 2 20/9/2553 12:03:35

CM

MY

CY

CMY

K
มหิตลา
ภาษาศิลป์
ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓

สร้างสรรค์โดย สาขาวิชาภาษาไทย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๒ [Type text] [Type text]

ISSN 2228-8260
ชื่อหนังสือ มหิตลาภาษาศิลป์
เล่ม ๑
ปีพิมพ์ กันยายน ๒๕๕๓
จํานวนพิมพ์ ๒,๕๐๐ เล่ม
ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล / อาจารย์พิชณี โสตถิโยธิน /
อาจารย์ณัฐกาญจน์ นาคนวล / อาจารย์วรรณพร
วรรณพร พงษ์เพ็ง
สร้างสรรค์โดย ทีมงาน “ศิลป์สาร”
บรรณาธิการ ชนกพร พัวพัฒนกุล
กองบรรณาธิการ นักศึกษารายวิชาการเขียนข่าวและคอลัมน์ในสื่อสิ่งพิมพ์
ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๑
ประสานงาน วริศรา โกรทินธาคม
ปกและรูปเล่ม ชนกพร พัวพัฒนกุล
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สหธรรมิก ๗๑-๗๒ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๑๒
ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร โทร. ๐๒-๘๖๔-๐๔๓๔-๕

สํานักงาน สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


มหิตลาภาษาศิลป์ ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร.๐๒-๔๔๑-๔๔๐๘
เว็บไซต์ www.la.mahidol.ac.th

สารบัญ

บทบรรณาธิการ ......................................................................................................... ๕
สมเด็จพระบรมราชชนกกับภาษาไทย ........................................................................ ๖
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
ภาษาไทยในทรรศนะของปราบดา หยุ่น ................................................................. ๑๓
กองบรรณาธิการ
ผมตายไม่ได้นะ(หมอ) ............................................................................................. ๒๐
ศุภชัย ทองศักดิ์
ไม่รู้เรื่อง .................................................................................................................. ๒๒
ชนกพร พัวพัฒนกุล
นามอะไรช่างมันขอ “อัน” ไว้ก่อน.......................................................................... ๒๖
อรวี บุนนาค
จําเป็นต้องมีดอกไม้หลากหลายพันธุ์ ....................................................................... ๒๙
ธีระยุทธ สุริยะ
ภูมิปัญญาที่สอ่ งสะท้อนจากมาตราตวงวัดในตํารายาไทย....................................... ๓๑
พิชณี โสตถิโยธิน
การใช้ภาษาไทยของนักจัดรายการวิทยุ .................................................................. ๓๓
ฐิติภา คูประเสริฐ
หวามๆ หวานๆ ..................................................................................................... ๓๖
วรรณพร พงษ์เพ็ง
รสเพลงรัก...จากวรรณคดีของสุนทรภู่ .................................................................... ๔๐
วริศรา โกรทินธาคม
คะนึงคิด พิศ อนิรุทธ์คําฉันท์................................................................................... ๔๔
วศวรรษ สบายวัน
อันเนือ่ งมาจากหน้าอกของนางประแดะ ................................................................. ๔๖
เสกสันต์ ผลวัฒนะ
๔ [Type text] [Type text]

อันเนือ่ งมาจาก“รักนี้...คุมได้”................................................................................. ๔๙
ณัฐกาญจน์ นาคนวล
หกทศวรรษวิถีชวี ิตริมแม่น้ํานครชัยศรี ................................................................... ๕๓
เขทฤทะย บุญวรรณ
ต่อกลอน ................................................................................................................. ๕๗
สายป่าน ปุริวรรณชนะ
เรื่องสั้น >> เ ห รี ย ญ ส อ ง ด้ า น ..................................................................... ๖๑
พิมทิตา พลสุวัตถิ์
กวีวัจนะ “ภาษาไทย”............................................................................................. ๖๔
ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

บทบรรณาธิการ

เด็ก “เอกไทย” มักจะได้รับคําถามอยู่เสมอว่า “จะเรียนภาษาไทยไปทําไม”


เหตุ ที่ ห ลายคนมี คํ า ถามเช่ น นี้ ก็ เ พราะวิ ช าภาษาไทย ไม่ ไ ด้ มี ลั ก ษณะเป็ น
“วิชาชีพ” เหมือนอย่างวิชาแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร วิศวกร นักบัญชี นักกฎหมาย
นักข่าว หรืออีกสารพัด “นัก” และไม่ได้เป็น “ของใหม่” เหมือนอย่างวิชาภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ ที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพ ประเภท “โกอินเตอร์”
ที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบันได้
วิชาภาษาไทยที่เรียนกันในระดับมหาวิทยาลัยนั้น หากจะเปรียบกับยาก็คง
ไม่ใช่ยารักษาโรคประเภทที่เห็นผลเฉียบพลัน กินปุ๊บหายปั๊บ เรียนปุ๊บรวยปั๊บ แต่การ
เรียน “เอกไทย” ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น เรียนเพื่อให้ คิดเป็น อ่านเป็น เขียนเป็น
และ พูดเป็น จึงมีลักษณะค่อนไปทาง “วิตามิน”ที่ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาต่างๆ
ตลอดจนทั ก ษะการสื่ อ สารกั บ คนรอบข้ า งทั้ ง ในการดํ า เนิ น ชี วิ ต ประจํ า วั น และการ
ประกอบอาชีพให้แข็งแรงและเห็นผลในระยะยาวเสียมากกว่า
คนที่ เรี ยน “เอกไทย” ในระดับ มหาวิท ยาลัยทุ กคน นอกจากจะได้พั ฒนา
ทักษะทางด้านการสื่อสารทั้งฟัง พูด อ่าน เขียนให้อยู่ในระดับ “ดี” ถึง “ดีมาก” แล้ว
ยั ง ต้ อ งเรี ย นทั้ ง วิ ช าหลั ก ภาษา วรรณคดี และคติ ช นวิ ท ยา ตลอดจนวิ ช าในเชิ ง
ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา ฯลฯ เพื่อจะได้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีให้
ลึกซึ้ง ตลอดจนเข้าใจที่มาที่ไปของความคิดและความเชื่อที่แตกต่าง หลากหลาย และไม่
หยุดนิ่งของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้
การเรียนภาษาไทยไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เราศึกษา “อดีต” เพื่อทําความเข้าใจ
“ปัจจุบัน” ขณะเดียวกันก็รู้เท่าทันและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
ที่จะมาถึงใน “อนาคต” ด้วย
เพราะไม่ มี อ ะไรที่ จ ะช่ ว ยให้ เ รารู้ จั ก และเข้ า ใจ “คนไทย” ได้ ดี ไ ปกว่ า
“ภาษาไทย” อีกแล้ว
๖ [Type text] [Type text]
สมเด็จพระบรมราชชนกกับภาษาไทย
*
ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

เมื่ อเอ่ ยถึ งพระนาม “สมเด็ จ


พระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรม
ราชชนก”หลายคนคงอดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะนึ ก ถึ ง
โรงศิ ริ ร าชพยาบาล รวมถึ ง การพั ฒ นา
วงการแพทย์ แ ผนปั จ จุ บั น ของไทย ด้ ว ย
เพราะเป็นพระอัจฉริยภาพที่โดดเด่นและ
เป็ น ที่ รั บ รู้ กั น ในวงกว้ า ง อย่ า งไรก็ ต าม
น อ ก จ า ก พ ร ะ อั จ ฉ ริ ย ภ า พ ใ น ท า ง
วิ ท ยาศาสตร์ แ ล้ ว ในทางศิ ล ปศาสตร์
พระองค์ก็ทรงรอบรู้และเอาพระทัยใส่ด้วย
เช่นกัน
“ภาษาไทย” เป็นแขนงวิชาหนึ่งทางศิลปศาสตร์ ที่พระองค์ทรงให้ความสําคัญ
และสนพระทัยมาแต่ าแต่ท รงพระเยาว์ ปัจจัย สําคัญประการหนึ่งที่ เป็นมูลเหตุให้สมเด็ จ
พระบรมราชชนกทรงสนพระทัยเรื่องราวเกี่ย วกับภาษาไทยนั้น อาจเป็ นเพราะทรง
“ซึมซับ” ความเป็นปราชญ์จากสมเด็ มเด็จพระบรมราชชนกของพระองค์ คือพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงได้รับการสดุดีจากหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวงว่า
มีพระปรีชาสามารถทางภาษาและวรรณคดีไทยอย่างยิ่ง
ประเด็นทางภาษาไทยที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรม
ราชชนกทรงให้ความสนพระทัยยิ่งคือเรื่อง “การแปลภาษาต่ การแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย”
ภาษาไทย
เหตุ ที่ ท รงสนพระทั ย เรื่ อ งนี้ ด้ ว ยเพราะในขณะนั้ น ทรงดํ า รงตํ า แหน่ ง เป็ น อธิ บ ดี
กรมมหาวิทยาลัย ทั้งยังทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย ทําให้
ทรงเห็นปัญหาของการใช้ภาษาไทยอันเนื่องมาจากการแปลตําราวิทยาการต่างประเทศ

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ของบรรดานักวิชาการไทย โดยเฉพาะตําราทางการแพทย์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ได้ทรง


แสดงทรรศนะไว้ เพราะในฐานะที่ทรงเข้าพระทัยทั้งธรรมชาติของภาษาไทย และวิธีคิด
ของคนไทย รวมถึงทรงเข้าพระทัยลักษณะของภาษาต่างประเทศด้วย (เพราะทรงเป็น
“นั ก เรี ย นนอก” รุ่ น แรกๆ ของกรุ ง สยาม) พระองค์ จึ ง ทรงวิ จ ารณ์ เ ปรี ย บเที ย บ
ความแตกต่างระหว่างภาษาต่างประเทศ (ตะวันตก) กับภาษาไทยไว้ อันเป็นสิ่งที่เป็น
หัวใจของปัญหาในการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย โดยทรงแสดงทรรศนะว่า
“...ภาษาไทยมีคําสําหรับแสดงความคิดน้อย มักมีแต่คํา
ที่สําหรับเรียกแต่สิ่งที่เห็นหรือจับได้ ภาษาไทยห่างจากภาษา
ชาวตะวันตกมาก ทั้งทางไวยากรณ์ วิธีพูดและวงความคิดจึง
แปลยากกว่าที่จะแปลภาษาตะวันตกภาษาหนึ่ง เป็นอีกภาษา
หนึ่ง เช่นฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ”
นอกจากนี้ ยังมีพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย
ให้เกิดสัมฤทธิผลว่า “ควรแปลความควบคู่ไปกับการตีความ” ดังพระราชวิจารณ์ ตอนหนึ่งที่ว่า
การแปลหนังสือต่างประเทศเป็นภาษาไทยเป็นของ
ยาก เพราะไม่แ ต่ ต้ อ งแปลภาษาเท่ า นั้ น โดยมากต้ อ งแปล
ความคิดต่ างประเทศให้เป็น ความคิดภาษาไทยโดยแท้ด้ว ย
เพราะวงความคิดของชาวต่างประเทศ เช่น ชาวยุโรป เป็นต้น
ผิดกับวงความคิดของคนไทยมาก จะแปลแต่ภาษาเท่านั้น คือ
Translation จะไม่ทําให้เรื่องราวแจ่มแจ้งอันใด ต้องทําการ
ขยายอรรถคือ Interpretation ด้วย เพื่อที่เรื่องนั้นจะได้เข้า
อยู่ในวงความคิดของคนไทย ด้วย....
ด้วยเหตุที่การแปลตําราภาษาต่างประเทศเป็นเรื่องยาก และการแปลให้คนไทย
ได้เ ข้า ใจวิทยาการต่า งประเทศตามวิธี คิด อย่ างคนไทยก็เ ป็นเรื่อ งยากเช่น กัน ดั งนั้ น
ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิชาการ จึงพระราชทานข้อแนะนําในการแปลตําราต่างประเทศ
เป็นภาษาไทยแก่นักวิชาการไทยเพื่อให้การแปลสัมฤทธิ์ผล ดังนี้
๘ [Type text] [Type text]

๑. แปลถ้อยคําให้ถูกต้อง
๒. แปลให้ได้เนื้อเรื่อง
๓. แปลให้ได้สํานวนของผู้แต่งไว้
๔. แปลวงความคิดต่างประเทศให้ไทยเข้าใจ หรือแปลวงความคิด
ต่างประเทศให้เข้าวงความคิดไทย
อนึ่ง เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนกมีความสนพระทัยเกี่ยวกับการแปล
เป็ น ทุ น เดิ ม จึ ง ทํ า ให้ ป ระเด็ น ทางภาษาไทยที่ ท รงสนพระทั ย อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง คื อ
“การบัญญัติศัพท์” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแปล คือ มีพระราชประสงค์ให้มีการ
บัญญัติ ศัพ ท์ ภาษาต่า งประเทศที่กํ าลัง เริ่ม เข้ามาอย่ างมากในขณะนั้น เป็น ภาษาไทย
(โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการ) ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานแก่พระยา
เมธาธิบดี ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงกล่าวถึงความสําคัญของการบัญญัติ
คําภาษาต่างประเทศให้เป็นภาษาไทยว่า
... จริงของเจ้าคุณที่ภาษาไทยของเราถึงจะบกพร่อง
อย่า งไรก็ตาม ยั งมีวิ ธีผูก ประโยค มีวิ ธีแสดงความคิดแสดง
โวหารมาก และดีพอที่จะใช้เป็นภาษาที่จะเผยแพร่ความคิด
และลึ ก ซึ้ง ได้ และถึง แม้จ ะมี ผู้ ใดมายกเหตุผ ลและตั ว อย่ า ง
แสดงว่า ภาษาไทยเวลานี้ยังขาดคุณสมบัติต่างๆ ที่จะใช้แสดง
ความคิดของชาวตวันตกได้พอที่จะทําให้ข้าพเจ้าต้องยอมรับ
เห็นด้วย คําตอบของข้าพเจ้าก็คงเป็นว่า “เราก็ต้องพยายาม
ทํ า นุ บํ า รุ ง ให้ ภ าษาของเราจํ า เริ ญ ขึ้ น ทั้ ง ในสมบั ติ แ ห่ ง คํ า
และวิธีผูกประโยคเรียงความให้สามารถแสดงความคิดของคน
ชนิดใดได้ ทั้งตะวันออกและตะวันตก เป็นกิจจําเป็นเท่ากั บ
จะต้องมีทหารหรือสร้างรถไฟ”
… แต่ ก ารที่ จ ะแปลหรื อ เขี ย นเรื่ อ งต่ า งๆ
ในภาษาไทยนั้ น มี คุ ณ ทางอื่ น สํ า คั ญ กว่ า ที่ จ ะแปลคื อ เรา
จะต้องพยายามเพาะความคิดของเราเองให้เป็นคุณลักษณะ

ของชาวเรา โดยเฉพาะเจ้าคุณไม่เห็นควรจะขอยืมภาษาของ
เขามาพูด ข้าพเจ้าขอส่งเสริมความคิดอันนี้ต่อไปถึงกับว่าเรา
ไม่ควรขอยืมความคิดของเขามาคิด เราควรมีสิ่งเกิดจากสมอง
ของเราเองมาแสดงในภาษาของเรา
เมื่ อ เรามี ค วามคิ ด แล้ ว ข้ า พเจ้ า เชื่ อ ว่ า เราคงจะ
สามารถสร้างภาษาของเราเองให้เป็นเครื่องมือแสดงความคิด
อันนั้นได้ ภาษาอาจตามความคิดได้
ตามความวิ จ ารณ์ ข องข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า ผู้ ติ ภ าษา
ของเราไม่ มี คํ า พอเพี ย งที่ จ ะใช้ แ สดงความคิ ด ต่ า งๆ ได้ นั้ น
มองเห็นปัญหาไม่ลึกพอ ที่จริงมีข้อบกพร่องสองข้อคือ
๑. เราไม่รู้ภาษาของเราดีพอ
๒. หรื อ ไม่ เราก็ ไ ม่ มี ค วามคิ ด อิ ส ระของเราเอง
พอที่จะนํามาแสดง
ฉะนั้น สิ่งที่เราต้องการจริงๆ นั้นคือการอบรมความคิด
ที่จะมาใช้เป็นเนื้อเรื่องแสดงโวหารและสมบัติคําของภาษาเรา
เรื่องราวความสนพระทัยของสมเด็จพระบรมราชชนกต่อภาษาไทยดังพรรณนา
มาข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าไม่เพียงความรู้ในทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่พ ระองค์ทรง
สนพระทัย หากแต่ความรู้ในเชิงศิลปศาสตร์พระองค์ก็ทรงให้ความสนพระทัยด้วย ทั้งนี้
อาจเพราะทรงเห็นว่าความรู้ทั้งสองแขนงต่างก็ส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมี
บทบาทหน้าที่ต่อสังคมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ปัจจุบัน ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้
ภาษาไทยอย่างมาก ทั้งในรูปคํา และการลําดับความในประโยค ด้วยเป็นสิ่งที่เดินทาง
มาพร้อมๆ กับการรับวิทยาการตะวันตกในแขนงสาขาต่างๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาในสังคม
และวั ฒ นธรรมไทย ซึ่ ง ในการรั บ วิ ท ยาการต่ า งประเทศเข้ า มาในวั ฒ นธรรมไทยนั้ น
ควรคํ า นึ ง ถึ ง การ “ถ่ า ยทอด” เป็ น ภาษาไทยที่ ถู ก ต้ อ ง รวมทั้ ง ควร “ปรั บ ” หรื อ
“ตีความ” ให้เข้ากับบริบทวิถีชีวิตคนไทย เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีคิดและวัฒนธรรมของ
๑๐ [Type text] [Type text]
คนไทยโดยส่วนใหญ่ อันจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยแท้จริง เป็นการรักษา
ภาษาไทยไว้มิให้สูญ และเป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก ดัง
พระราชวิจารณ์ในสมเด็จพระบรมราชชนก เรื่อง การแปล ความตอนหนึ่งว่า
... สํ า หรั บ การศึ ก ษาทั่ ว ไปควรใช้ ภ าษาไทยเป็ น
วิธีการแสดงความคิด เพราะเราอยากจะเผยแผ่การศึกษา
และธรรมที่เพาะขึ้นโดยเฉพาะสําหรับประโยชน์แก่คนไทย
และตั้งใจจะเผยแผ่ความเป็นไทย ...

บรรณานุกรม

ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดา. กรุงเทพฯ: คณะ


แพทยศาสตร์ และศิริ ราชพยาบาล จั ดพิ มพ์ เนื่ องในวั นมหิด ล ๒๔ กั นยายน
๒๕๐๘.
มหิ ต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิก รม พระบรมราชชนก, สมเด็ จ พระ. “การแปลหนัง สื อ :
พระราชวิจารณ์ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก”
ใน แนะนําการพยาบาล. ตามปาฐกถาของ ดร. เฮอรเบอรต อี คัฟฟ หม่อมเจ้า
หญิ ง มารยาตรกั ญ ญา ดิ ศ กุ ล ทรงแปลประทานบรรณาธิ ก ารหนั ง สื อ สนอง
พระโอฐ สภากาชาดสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕. หน้า (ฉ)-(ฐ).
วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ (บรรณาธิการ). ๑๐๐ ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช
วิกรม พระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสืองาน
ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, ๒๕๓๔.
๑๑

ข้อมูลเพิ่มเติม
พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงปลู ก ฝั ง เรื่ อ ง ภาษาไทย
แก่พระราชโอรสดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแด่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่เสด็จไปทรงศึกษาต่างประเทศ ว่าไม่ทรงปรารถนาให้พระราชโอรส
ทรงลืมภาษาไทย เมื่อเสด็จไปถึงให้ทรงเขียนพระราชหัตถเลขามาถวายทั้งภาษาอังกฤษ
และภาษาไทย
แต่บัดนี้จะขอตักเตือนอย่างหนึ่งก่อนว่าซึ่งให้ออกไป
เรียนภาษาวิชาการในประเทศยุโรปนั้น ใช่ว่าจะต้องการเอามาใช้
แต่เฉพาะภาษาฝรั่งฤาอย่างฝรั่งนั้นอย่างเดียว ภาษาไทยแล
หนังสือไทยซึ่งเปนภาษาของตัว หนังสือของตัว คงจะต้องใช้อยู่
เปนนิจ จงเข้าใจว่าภาษาต่างประเทศนั้นเปนแต่พื้นของความรู้
เพราะวิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเปนแต่ของเก่าๆ
มีน้อย เพราะมิได้สมาคมกับชาติอื่นช้านาน เหมือนวิชาการ
ในประเทศยุโรป ที่ได้สอบสวนซึ่งกันแลกัน จนเจริญรุ่งเรืองมาก
แล้วนั้น ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไปเรียน
ภาษาอื่นเพื่อจะได้เรียนวิชาให้กว้างขวางออก แล้วจะเอากลับ
ลงมาใช้ เ ปนภาษาไทยทั้ ง สิ้ น เพราะฉนั้ น จะทิ้ ง ภาษาของตั ว
ให้ลืมถ้อยคําที่จะพูดให้ลืมเสียฤาจะลืมวิธีเขียนหนังสือไทยที่ตัว
ได้ฝึกหัดแล้วเสียนั้นไม่ได้เลย ถ้ารู้แต่ภาษาต่างประเทศ ไม่รู้เขียน
อ่านแปลลงเปนภาษาไทยได้ ก็ไม่เปนประโยชน์อันใด ถ้าอย่างนั้น
หาจ้างแต่ฝรั่งมาใช้เท่าไรเท่าไรก็ได้ ที่ต้องการนั้นต้องให้กลับ
แปลภาษาต่ า งประเทศลงเปนภาษาไทยได้ จึ ง จะนั บ ว่ า เปน
ประโยชน์ อย่ า ตื่ น ตั ว เองว่ า ได้ ไ ปร่ํ า เรี ย นภาษาฝรั่ ง แล้ ว
ลืมภาษาไทย กลับเห็นเปนการเก๋การกี๋อย่างเช่นนักเรียนบางคน
มักจะเห็นผิดไปดังนั้น แต่ที่จริงเปนการเสียที่จะควรติเตียนแท้
ทีเดียว เพราะเหตุฉนั้นในเวลาที่ออกไปเรียนวิชาอยู่ ขอบังคับว่า
๑๒ [Type text] [Type text]
ให้เขียนหนังสือถึงพ่อทุกคน อย่างน้อยเดือนละฉบับ เมื่อเวลา
ยังเขียนหนังสืออังกฤษไม่ได้ ก็เขียนมาเปนหนังสือไทย ถ้าเขียน
หนังสืออังกฤษฤาภาษาหนึ่งภาษาใดได้ ให้เขียนภาษาอื่นนั้นมา
ฉบับหนึ่ง ให้เขียนคําแปลเปนหนังสือไทยอิกฉบับหนึ่ง ติดกันมา
อย่าให้ขาด เพราะเหตุที่ลูกยังเปนเด็ก ไม่ไ ด้เรียนภาษาไทย
แน่นอนมั่นคง ก็ให้อาศรัยไต่ถามครูไทยที่ออกไปอยู่ด้วยฤาค้นดู
ตามหนังสือภาไทยซึ่งได้จัดออกไปให้ด้วย คงจะพอหาถ้อยคํา
ที่จะใช้แปลออกเปนภาษาไทยได้ แต่หนังสือไทยที่จะเปนกําลัง
ช่วยอย่างนี้ยังมีน้อยจริง เมื่อเขียนเข้ามาคําใดผิดจะติเตียน
ออกไปแล้วจงจําไว้ใช้ให้ถูกต่อไปภายน่า อย่าให้มีความกลัว
ความกระดากว่าจะผิดให้ทําตามที่เต็มความอุสาหะความแน่ใจ
ว่าเปนถูกแล้ว เมื่อผิดก็แก้ไปไม่เสียหายอันใด

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ พระ. พระบรมราโชวาท พระราชทานพระราช


โอรสในรั ชกาลที่ ๕ . สมเด็ จ พระนางเจ้ าฯ พระมาตุ จ ฉา โปรดให้พิ ม พ์ .
พระนคร: โรงพิมพ์ไท, ๒๔๖๖.
๑๓

ภาษาไทยในทรรศนะของปราบดา หยุ่น

ภาษาไทยในทรรศนะของ
ปราบดา หยุ่น
๑๔ [Type text] [Type text]

“คุ่น-ปราบดา หยุ่น” นักเขียนหนุ่มมากความสามารถที่คว้ารางวัลซีไรต์จาก


ผลงานเรื่อง “ความน่าจะเป็น” เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วยวัยเพียง ๒๙ ปี
บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ ตัดตอนมาจากบันทึกการสนทนาเรื่อง “ภาษาไทย” กับ
นักเขีย นผู้มีชื่ อ เป็น คําภาษารัสเซียที่แ ปลว่า “ความจริง ” ผู้นี้ เ มื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
และยังคงสะท้อน “ความจริง” ได้อย่างครบถ้วนถึงแม้จะผ่านมาเกือบ ๒ ปีแล้วก็ตาม

ขอคําจํากัดความของ “ภาษาไทย” ใน ตัวเอง เพราะว่าหลังจากจบ ม.๓ แล้ว ก็ไป


มุมมองของปราบดา เรี ยนต่อต่ างประเทศเลย ไม่ มีโอกาสได้ ใช้
ปราบดา: ภาษาไทยเป็นภาษาที่คล้ายๆกับ ภาษาไทยนานมาก ประมาณ ๑๐ ปี ไ ด้
ผู้ ห ญิ ง ไทย คื อ มี ค วามสวย มี ค วาม เพราะฉะนั้นช่วงที่เรียน ม. ต้น ก็เป็นช่วงที่
อ่ อ นหวาน มี ค วามอ่ อ นช้ อ ย มี ค วาม สํ า คั ญ เป็ น ช่ ว งที่ อ่ า นหนั ง สื อ ไทยเยอะ
นุ่มนวล มีความเป็นศิลปะสูง มีความเป็น ชอบอ่ า นกลอน ชอบวิ ช าภาษาไทย ทํ า
บทกวีสูง และอ่อนไหวง่าย ภาษาไทยจึง วารสารที่ โรงเรี ยนด้ วย มี กิ จกรรมหลายๆ
ได้เปลี่ยนแปลงง่าย ภาษาไทยเป็นภาษาที่ อย่างที่เกี่ยวกับภาษา เกี่ยวกับการเขียน ก็
ไม่ค่อยเข้มงวด คือเราไม่ค่อยมีรูปแบบที่ น่าจะเป็นพื้นฐานช่วงหนึ่งที่สําคัญทีเดียว
ชั ด เ จ น เ ห มื อ น ภ า ษ า อื่ น ๆ เ ช่ น ทําไมถึงสนใจทางด้านงานเขียน
ภาษาอังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น ที่ค่อนข้างจะมี ปราบดา: มีเหตุผลหลายอย่างครับ ก็ชอบ
รูปแบบประโยคที่ชัดเจน แต่ภาษาไทยของ อ่าน ตอนเด็กๆชอบอ่าน แล้วก็คิดว่าเราเป็น
เรา เราสามารถเข้าใจกันได้ด้วยคําพูดสั้นๆ คนที่มีความเห็น มีทัศนคติเยอะ เราก็อยาก
เป็ น เอกลั ก ษณ์ ที่ สํ า คั ญ และควรรั ก ษาไว้ ที่จะพูดมันออกมา แต่โดยอุปนิสัยแล้วไม่ใช่
เพราะเท่าที่ได้รู้จักภาษาต่างๆมา ก็รู้สึกว่า คนที่จะแสดงความคิดเห็นออกมาด้วยการ
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มี ความเป็นตั วของ แสดงออก ก็เลยรู้สึกว่าการเขียนมันถนัดกว่า
ตัวเองสูงที่สุดภาษาหนึ่ง และเป็นงานที่เราถนัดที่สุดที่จะทํา
สมัยเรียนมัธยมต้น (ที่ร.ร.เทพศิรินทร์) มี มี ใ ครเป็ น แ รงบั น ดาลใจหรื อ เป็ น ผู้
ทัศนคติเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยอย่างไร จุดประกายบ้าง
ปราบดา: ก็เป็นช่วงที่สนใจภาษาไทยมาก
คิดว่าเป็นช่วงที่สร้างพื้นฐานภาษาไทยให้กับ
๑๕

ปราบดา: ก็ มี ห ลายคนอี ก เหมื อ นกั น พ่อแม่เราก็ได้รับอิทธิพลจากอเมริกา เขาก็


นะครับ เพราะว่าตั้งแต่เด็ก ผมก็เป็นคนที่ แต่งตัวกันแบบอเมริกัน ฮิปปี้ พอต่อมาใน
อยู่ในแวดวงของนักเขียน แวดวงของงาน ยุ ค เราก็ ค่ อ นข้ า งได้ อิ ท ธิ พ ลจากญี่ ปุ่ น
หนังสืออยู่แล้ว ทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ทํางาน ตอนนั้นการ์ตูนญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาเยอะ และ
หนังสือ เพราะฉะนั้นก็จะได้เห็นบรรยากาศ ยิ่งช่วงนี้มีเกาหลีก็คล้ายๆ กับตอนที่ได้รับ
สิ่งแวดล้อมแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก บังเอิญโชค วัฒ นธรรมญี่ปุ่ น น่ ะครั บ แต่ ช่ว งนี้ อาจจะ
ดีที่ชอบบรรยากาศแบบนี้ ชอบคนแบบนี้ ต่างตรงที่ว่า เรามีทางเลือกมากขึ้น หรือว่า
ชอบสังคมแบบนี้ ก็เลย วั ย รุ่ น มี โ อกาสที่ จ ะได้
“...ภาษาไทยเป็นภาษา
ทํ า ให้ ท างของเรามั น อะไรมาง่ า ยๆมากขึ้ น
ดู ง่ า ยกว่ า ของคนอื่ น ที ค
่ ล้ า ยๆกั บผู ้ หญิ งไทย ใช้ จ่ า ยมากขึ้ น ในยุ ค
เพราะว่ า เรารู้ จั ก มั น ดี คือ มีความสวย มีความ สมัยของเรา ถึ งเราจะ
อยู่แล้ว และหลายๆคน อ่อนหวาน มีความ ชอบญี่ ปุ่ น แต่ ว่ า เราก็
ในวงการก็ รู้ จั ก เราอยู่ อ่อนช้อย มีความนุ่มนวล ไ ม่ เ ค ย มี ค อ ส เ พ ล ย์
แล้ ว เพราะฉะนั้ น อาจ (หั ว เราะ) แต่ พ อมา
มีความเป็นศิลปะสูง
พู ด ไ ด้ ว่ า ทั้ ง มี แ ร ง ตอนนี้นี่ทุกคนสามารถ
บั น ดาลใจจากหลายๆ
มี ค วามเป็ น บทกวี สง
ู ที่ จ ะแต่ ง ตั ว ได้ ต ามที่
ค น ที่ เ ร า ช อ บ ด้ ว ย และอ่ อนไหวง่ า ย...” ตัว เองต้ อ งการ ทํ า ผม
ทั้งเป็นความโชคดีเหมาะสมที่เราก็ชอบด้วย ตามที่ตัวเองชอบ แง่หนึ่งก็มีผลดี ตรงที่ว่า
ก็เลยมาทางนี้ได้ มันทําให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่
ตอนนี้ก็มีกระแสวัฒนธรรมต่างประเทศ เขามีอิสระทางความคิด หรืออิสระทางการ
หลั่ งไหลเข้า มามาก เช่ น เกาหลี ทํา ให้ แสดงออก ปั ญ หาอยู่ ต รงที่ ว่ า วั ฒ นธรรม
วั ย รุ่ น ไ ท ย ค่ อ น ข้ า ง จ ะ เ อ น เ อี ย ง ของไทยเราไม่ค่อยแข็งแรง เพราะฉะนั้น
เข้าหาวัฒนธรรมเหล่านั้นมากขึ้น คิดว่า เวลาที่เรารับของคนอื่นเข้ามา มักจะไม่มี
ในอนาคตทิศ ทางของวัฒนธรรมไทยจะ การผสมผสานวั ฒ นธรรมของเราเข้ า กั บ
เป็นไปในแนวทางไหน ของเขา พอเราอยากจะเป็นเกาหลี เราก็
ปราบดา: คือความจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกมาก เป็นเกาหลีกันหมด พอเราอยากเป็นญี่ปุ่น
ค่ อ นข้ า งเป็ น เรื่ อ งธรรมชาติ ในยุ ค สมั ย เราก็เป็นญี่ปุ่นกันหมด ไม่มีการนําเอาสิ่ง
๑๖ [Type text] [Type text]
เหล่านั้นเข้ามาประยุกต์ใช้กับของไทย ก็
“...เราอยู่เมืองไทย เราต้องใช้
คิดว่าคงจะเป็นเรื่องยากเหมือนกัน คือเรา
อาจจะต้องประสบปัญหาทางวัฒ นธรรม ภาษาไทย เราต้องมีส่วนร่วม
อะไรสักอย่างหนึ่ง ถึงจะทําให้เราย้อนกลับ ในการพัฒนาสังคมไทย...”
มาดู ตั ว เอง เราก็ ห วั ง ว่ า การเรี ย นรู้ ถึ ง
ทัศนคติของวัฒนธรรมอื่น มันอาจจะทําให้
คุณมีความคาดหวังอยากจะให้ภาษาไทย
เรากลับมาตระหนักถึงตัวเองมากขึ้นได้
เป็นไปในแนวทางไหน
แล้วในด้านภาษาจะกระทบไหม
ปราบดา: คื อ ภาษามั น เป็ น สิ่ ง ที่ มี ก าร
ปราบดา: หลายๆอย่ า งมั น คงเป็ น ช่ ว ง
เปลี่ยนแปลงอยู่แล้วตามธรรมชาติของมัน
กระแสนิ ย ม เช่ น วั ย รุ่ น ที่ ส นใจภาษา
เวลาที่ เราดูห นัง เก่ าๆ จะแค่ ๒๐ -๓๐ ปี
เกาหลีในตอนนี้ก็ไม่เห็นว่าในระยะยาวจะ
เราก็ สั ง เกตแล้ ว ว่ า คนที่ พู ด ในตอนนั้ น
ใช้ทําอะไร หรือว่าเพลง หลายๆคนก็ร้อง
ไม่เหมือนกับคนที่พูดในตอนนี้ แต่อย่างหนึ่ง
เพลงภาษาเกาหลี ไ ด้ แต่ ก็ ไ ม่ รู้ อี ก ว่ า
ที่คิดว่าเราควรจะให้ความสําคัญกันมากขึ้น
ในระยะยาวจะนํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ อ ะไร
ก็คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน เพราะ
มันอาจจะเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ทุ ก วั น นี้ รู้ สึ ก ว่ า การใช้ ภ าษาของคนจะ
คนที่จริงจังกับมัน ก็อาจนําประโยชน์ของ
อ่ อ นด้ อ ยลง คนที่ เ ขี ย นหนั ง สื อ ไ ด้ ดี
มัน ไปใช้ กั บตั วเองได้ใ นอนาคต คนส่ ว น
ก็ น้ อ ยลง อาจจะเป็ น เพราะว่ า ระบบ
ใหญ่ก็ จะต้ องกลั บมาพึ่งพาภาษาของเรา
การศึกษาไม่เข้มงวดเหมือนเดิม บางครั้ง
พึ่งพาวัฒนธรรมของเราอยู่ดี เพราะฉะนั้น
เราคิดว่าการสื่อสารที่จะทําให้คนในสังคม
ก่อนอื่นก็จะต้องทําของตัวเองให้แข็งแรง
เข้ า ใจกั น ได้ ม ากขึ้ น หรื อ ว่ า มี ทั ศ นคติ
ก่อน คือการสนใจวัฒนธรรมอื่นเป็นเรื่องที่
ที่จริงจังกับอะไรบางอย่างได้มากขึ้น ต้อง
ดี อ ยู่ แ ล้ ว มั น ทํ า ให้ เ รามี ทั ศ นคติ หรื อ
ใช้ ภ าษาที่ เ ป็ น ภาษาเดี ย วกั น พอสมควร
วิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น แต่เราก็ต้องดูด้วยว่า
แต่ทุกวันนี้อาจจะมีหลายรูปแบบจนเกินไป
พื้นที่ของเราจริงๆอยู่ที่ไหน เราอยู่เมืองไทย
วัยรุ่นก็พูดภาษานึง คนอายุมากแล้วก็พูด
เราต้องใช้ภาษาไทย เราต้องมีส่วนร่วมใน
ภาษานึง นักการเมืองก็พูดอีกภาษานึง คิด
การพัฒนาสังคมไทย
ว่าอย่างน้อยเราควรมีมาตรฐานบางอย่าง
๑๗

“...บางครั้งก็ดูเหมือนว่าคนที่เป็นวัยรุ่นก็อายกับการที่จะทําถูก เช่น
การพูดจาให้มันถูกต้อง บางทีอยู่ในหมู่เพื่อน ก็ไม่กล้าที่จะพูดให้มัน
ถูก เพราะว่าอาย กลัวจะถูกมองว่าเป็นเนิร์ดอยู่คนเดียว”
มากขึ้นในสังคมไทย ว่าภาษาไทยที่จะใช้ ในฐานะที่ เ ป็ น คนไทยคนหนึ่ ง จะมี วิ ธี
เพื่อการสื่อสารกันควรจะเป็นยังไง อนุรักษ์ภาษาไทยได้อย่างไร
สมมติถ้าวันหนึ่งภาษาไทยไม่ใช่ภาษาแม่ ปราบดา: ที่ สํ า คั ญ อย่ า งหนึ่ ง คื อ ต้ อ งให้
ของเราจะเป็นอย่างไร ความสํ า คั ญ กั บ ความถู ก ต้ อ งพอสมควร
ปราบดา: ถ้ า จะพู ด ถึง แก่น แท้ข องความ มั น อาจจะเป็ น มุ ม มองของคนหั ว โบราณ
เป็นคน จะภาษาอะไรก็ไ ม่ใช่ประเด็น ถ้า นิดหน่อย แต่บางครั้งก็ดูเหมือนว่าคนที่เป็น
เราใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ก็จะดีกับตัวเราเอง วั ย รุ่ น ก็ อ ายกั บ การที่ จ ะทํ า ถู ก เช่ น การ
ถ้ า สั ง คมของเรากลายเป็ น สั ง คมที่ ใ ช้ พูดจาให้มั นถูกต้อง บางทีอยู่ใ นหมู่เพื่อ น
ภาษาอังกฤษกันหมดเลย แต่ว่ ามันทําให้ ก็ ไ ม่ ก ล้ า ที่ จ ะพู ด ให้ มั น ถู ก เพราะว่ า อาย
สภาพสังคมดีขึ้น การเมืองดีขึ้น ชีวิตความ กลั ว จะถู ก มองว่ า เป็ น เนิ ร์ ด อยู่ ค นเดี ย ว
เป็นอยู่ของคนดีขึ้น คนมีอิสระมากขึ้น มัน ความจริงมันเป็นสิ่งสําคัญนะ เพราะต่อไป
ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ว่าทุกภาษาก็ย่อม ถ้า ไม่ มีใ ครจริ ง จั งกั บ เรื่อ งนี้ เลย คุณ ภาพ
มี เ อกลั ก ษณ์ มี คุ ณ ค่ า ของตั ว มั น เอง ทุกอย่างก็จะลดด้อยถอยลงไป เช่นเวลาที่
ภาษาไทยก็มีคุณค่าของความไพเราะ ของ เราฟั ง พิ ธี ก รในโทรทั ศ น์ พู ด บางครั้ ง เรา
ความเป็ น บทกวี ภาษาไทยเป็ น ภาษาที่ ก็ ฟั ง รู้ ว่ า คนเดี๋ ย วนี้ เ ขาพู ด ผิ ด เยอะมาก
เรียนง่าย เพราะเราสามารถพูดยังไงก็ยัง ใช้ ภ าษาผิ ด พู ด คํ า ควบกล้ํ า ไม่ มี ซึ่ ง โดย
เข้าใจได้อยู่ ดังนั้น ถ้าถึงวันที่ภาษาอื่นต้อง ตําแหน่งหน้าที่ของเขาแล้ว เขาควรจะเป็น
กลายเป็นภาษาหลักของเรา แล้วภาษาไทย ตัวอย่างที่ ดี ในเมื่อ ตัวอย่างที่ ดีมีคุณภาพ
ของเรากลายเป็นภาษาด้อยนี่ มันก็อาจจะ ด้อยลงทุกวัน เราก็จําเป็นต้องเข้มงวดกับ
ต้ อ งมี ก ารอนุ รั ก ษ์ ไ ว้ อ ยู่ ดี ต้ อ งมี ค นที่ มี ตัวเองมากกว่า คือภาษาเอ็มเอสเอ็น หรือ
ความสามารถพอในการอนุรักษ์ภาษาไทย เอสเอ็มเอส มันไม่ซีเรียสหรอกครับ เพราะ
เอาไว้ได้ มันเป็นโลกของมัน เวลาเราใช้เอสเอ็มเอส
เราก็ใช้ภาษาสั้นๆ เพราะมันประหยัดเวลา
๑๘ [Type text] [Type text]
เอ็ ม เอสเอ็ น ก็ เ หมื อ นกั น ถ้ า จะมั ว มานั่ ง ก็ ถื อ เป็ น การศึ ก ษา ไปหาเพื่ อ นก็ เ ป็ น
พิ ม พ์ ภ าษาตามหลั ก วิ ช าการมั น ก็ ไ ม่ มี การศึ ก ษา ไปกิ น ข้ า วนอกบ้ า นก็ เ ป็ น
ประโยชน์ มั น ผิ ด ที่ ผิ ด ทาง เพราะฉะนั้ น การศึกษา เพราะฉะนั้นเราควรจะเปิดกว้าง
เวลาใช้เอ็ม ก็ “หุหุ” ได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าถ้า ทั้งความคิด และมุมมองเกี่ยวกับการศึกษา
เป็นการพูดในชีวิตจริง หรือว่าต้องพูดกับ ให้มันเปลี่ยนไป เพราะว่าอยู่ดีๆสังคมจะมา
สาธารณชน หรือว่าใช้คําพูดกับผู้ใหญ่ เราก็ สร้างระเบียบกันเอง มันยาก! แต่ถ้ารัฐบาล
ควรใช้คําพูดให้ถูกต้อง เป็นคนจัดให้ และแนะนําว่ามันควรจะเป็น
ขอถามเรื่อ งการศึกษาบ้าง ช่วงหลายปี อย่ า งไร ก็ น่ า จะดี ขึ้ น แต่ ว่ า ที่ ผ่ า นมา
มานี้ มีการปรับเปลี่ยนระบบการสอบเข้า รัฐบาลกลับทําให้มันมีปัญหามากขึ้น สร้าง
มหาวิทยาลั ยบ่อ ยครั้ง มี ความสั บ สนมากขึ้ น
ค ว าม คิ ด เ ห็ น อ ย่ าง ไ ร “...เด็กบางคนแค่อยาก สร้ า งความเครี ย ด
เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ให้ กั บ เด็ ก มากขึ้ น
เข้ามหาวิทยาลัยดังๆ
ปราบดา: ผมเป็นคนหนึ่งที่ คิ ด ว่ า ร ะ บ บ
โชคดีที่ไม่ต้องผ่านระบบนี้ เพราะว่ า มั น ดั ง แต่ วา
่ การศึกษามันควรจะ
เลย เพราะว่ า ไปเรี ย น สิ่งที่ตัวเองอยากเรียน เ ป็ น ร ะ บ บ ที่ มี
ต่ า งประเท ศ แล้ ว ก็ ยั ง มันไม่ได้อยู่ที่นั่น...” ตั ว เลื อ กได้ แ ล้ ว คื อ
อุ ต ส่ า ห์ เ ลื อ กเรี ย นศิ ล ปะ ให้เด็กเลือกได้ ถ้าไม่
ซึ่งมันไม่ต้องสอบ (หัวเราะ) รู้สึกว่าจริงๆ อยากเอ็นทรานซ์ก็น่าจะมีวิธีอื่นที่ทําให้ได้
แล้วชีวิตของเด็กนักเรียนควรจะมีทางเลือก เรียนในสิ่งที่ตัวเองต้องการ มหาวิทยาลัย
มากกว่ า นี้ ทุ ก วั น นี้ สั ง คมเราถู ก บี บ ให้ ต่ า งๆ ก็ ค วรจะลดการยึ ด ติ ด กั บ ภาพ
กลายเป็นสังคมที่แข่งขันเพื่อเอาชนะ ส่วน ศั ก ดิ์ ศ รี หรื อ ชื่ อ เสี ย งของสถาบั น ได้ แ ล้ ว
หนึ่งก็มาจากการศึกษานั่นเอง เพราะทุก เพ ราะหลายๆอย่ า งมั น ไ ม่ เ กี่ ย วเล ย
คนจะมองว่าความสําเร็จในเรื่องที่จะต้อง เด็กบางคนแค่อยากเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ
สอบผ่าน เป็นสิ่งที่จะต้องทํา หรือการได้ เพราะว่ามันดัง แต่ว่าสิ่งที่ตัวเองอยากเรียน
เกียรตินิยม ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องการทํา มัน ไม่ไ ด้ อยู่ ที่ นั่น มัน ควรจะเปลี่ย นเสี ย ที
แต่ความจริงแล้วการศึกษามันแปลว่าการ ถ้าหากว่าเรารู้ไ ด้ด้วยตัวเอง เรามองข้าม
เรี ย นรู้ เ กี่ ย วกั บ ชี วิ ต ซึ่ ง มั น เกิ ด ขึ้ น ได้ กระแสนิ ย ม มองข้ า มความยึ ด ติ ด กั บ ชื่ อ
ตลอดเวลา ทุกวัน และจากทุกอย่าง ดูหนัง หรืออะไรสักอย่างไปได้ เราก็ไม่ต้องลําบาก
๑๙

ใจอะไรมาก ไม่ต้องเครียดมาก คิดแค่ว่าที่ ชื่นชอบ ก็ดีใจด้วย เพราะหวังว่างานที่ทํา


ไหนก็ตามที่เราไปเรียนแล้วสามารถได้เรียน มันอาจจะมีส่วนที่ทําประโยชน์อะไรให้กับ
ใ น สิ่ ง ที่ เ ร า ต้ อ ง ก า ร ไ ด้ ก็ พ อ แ ล้ ว ชีวิตของคนอ่านได้บ้าง อีกมุมหนึ่งก็มองว่า
ไม่จําเป็นต้องพยายามไปเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ ค วรไปยึ ด ติ ด อะไรกั บ สิ่ ง ที่ เ ขี ย นมาก
ที่มีชื่อเสียง เพราะความรู้ที่ให้ไปบางทีเราอาจจะไม่ได้
สุดท้ายนี้ อยากฝากอะไรถึงคนที่ชื่นชอบ รู้ จ ริ ง ก็ ไ ด้ คนอ่ า นจริ ง ๆแล้ ว เป็ น ปั จ จั ย
“ปราบดา หยุ่น” บ้าง สําคัญมากกับงานเขียน ถ้าไม่มีคนอ่านเรา
ปราบดา: ถ้ามีบุคคลที่ชื่นชอบผลงานจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าจะเขียนทําไม อีกอย่างประโยชน์
(หัวเราะ) ก็ขอบคุณนะครับ แต่ว่าอยากให้ ที่จะเกิดขึ้นกับงานเขียน จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ
คิดว่างานทุกงานมันไม่ใช่ตัวตนของคนไป มี ค น อ่ า น แ ล้ ว ค น อ่ า นค น นั้ น ก็ ต้ อ ง
เสี ย ทั้ ง หมด มั น ก็ มี ห ลายๆปั จ จั ย ที่ ทํ า ให้ มีวิจ ารณญาณ มีร ะบบความคิด ที่นํา งาน
งานออกมาเป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้นคนที่ เขียนนั้นไปทําประโยชน์ต่อไปได้ ก็อยากให้
อ่านแล้ วได้ค วามรู้ จากงาน หรื อว่ ามี ไ รที่ เป็นคนอ่านที่มีคุณภาพครับ

ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
http://www.sathira-dhammasathan.org
๒๐ [Type text] [Type text]

ผมตายไม่ได้นะ(หมอ)

*
ศุกชัย ทองศักดิ์

ทานโทษนะครับหมอ...
ผมอยากรู้เวลาของผมเหลือเท่าไหร่ ทําไมคุณทําหน้าเครียดจัง คงเหลือไม่มาก
ใช่มั้ย คงใช่ เพราะผมก็เริ่มรู้สึกแย่มากแล้วเหมือนกัน ไม่เป็นไร ในเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิด
ผมขอเล่าอะไรหน่อยได้มั้ย ผมอยากเล่า คุณจะได้รู้ผมมาอยู่ที่นี่ไ ด้ยัง เอาล่ะ คุณจะ
ไม่ฟังก็เรื่องของคุณ แต่ผมจะเล่า
คืออย่ างนี้ ตอนเช้า มี การถ่ ายทอดสดการประชุ รประชุมของกลุ่ มผู้นํา โลก (จี ๗)
ทางทีวี ท่านผู้นําประเทศของเราแกคงอยากให้ปวงผู้นําได้สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทย
ถึงพาไปพายเรือประชุมกันที่ตลาดน้ําดําเนินสะดวก ผมก็ไม่รู้เหมือนกันทําไม ถึงมา
ประชุมที่บ้านเรา ทั้งที่ประเทศจนๆ ระอุด้วยปัญหา อาชญากรรมและโสเภณีอย่างเราไม่ งเ
น่าจะเกี่ยวอะไรด้วยเลย แต่มีข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ไ ด้ระบุว่า ระหว่างที่ผู้นํา
ประชุ ม กั น อยู่ นั้ น ที ม งานก็ เ ดิ น ทางไปยั ง จั ง หวั ด ต่ า งๆ ในเมื อ งไทย ทั้ ง ชายแดน
ไทย-กัมพูชา(เพื่อศึกษาเรื่องแผนที่) อิสาน(เพื่อเก็บตัวอย่างข้าว) สามจังหวัดชายแดนใต้
(เพื่อเจรจาเรื่องอาวุธ) แถบภาคเหนือ(เพื่อหาพื้นที่ทิ้งกากสารเคมี) สมาคมฟุตบอล(เพื บอล ่อ
หาเสียงสนับสนุนเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก)
หมอครับ ผมเจ็บหน้าอกเหลือเกิน ช่วยทําอะไรสักอย่างเสียทีสิ.. แล้วเวลาผม
เหลือเท่าไหร่แล้วครับ มันคงเหลือน้อยเต็มทีแล้วใช่มั้ย เอาล่ะ เข้าเรื่องเลยดี งเลย กว่า คือ
อย่างนี้ ระหว่างประชุมท่านผู้นําคนหนึ่ง ก็ถามคําถามหนึ่งขึ้นมา แต่จําไม่ไ ด้ว่าผู้นํ า

*
นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รุ่น ๒)
๒๑

ชาติไหน เพราะภาษาอังกฤษไม่ว่าใครพูดก็ฟังเหมือนๆ กันหมด อะไรนะครับ อ๋อ เชิญๆ


ทําอะไรก็เชิญ อย่าให้ผมตายตอนนี้ก็พอ แหมคุณนี่ อย่าขัดจังหวะสิ เกือบลืมเลยมั้ยล่ะ
ถึ ง ไหนแล้ ว ..อ๋ อ คํ า ถามคื อ “คุ ณ คิ ด ว่ า เอกลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรมของชาติ คุ ณ คื อ อะไร”
เมื่อได้ฟังคําถาม เหล่าผู้นําต่างฝ่ายก็ต่าง บรรยายคําตอบของตัวเองเสียยาวเหยีย ด
ฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่เสียเหลือเกิน จนผมรู้สึกอยากเข้าร่วมตอบคําถามด้วย เพราะ
เอกลักษณ์วัฒนธรรมของเราก็มีเยอะแยะเหมือนกัน
ตอนนั้นเอง ผมก็เลยเริ่มนึกหาคําตอบสําหรับเมืองไทยบ้าง ..สยามเมืองยิ้ม
--แต่ ไม่ ไ ด้ สิ คนไทยยิ้ ม เป็ น ประเทศเดี ย วหรื อ ไง...สยามเมื อ งพุ ท ธ-–นี่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ อี ก
ไทยนั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธประเทศเดี ย วในโลกหรื อ ไง...การไหว้ --ก็ ไ ม่ ไ ด้ อี ก เหมื อ นกั น
ประเทศอื่นเขาก็ไหว้เป็น...วัด--นี่ก็ไม่ได้ ลาว พม่าก็มีวัด...กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น--แค่คิดก็
ผิดแล้ว...มวยไทย--อืม เข้าที แต่พม่าก็มีการต่อสู้แบบนี้ แค่เรียกไม่เหมือนกัน พม่าอาจ
เรียกอย่างอื่น แต่เราเรียกว่า มวยไทย ...ใช่! ใช่แล้ว! ใช่เลย! ผมคิดออกแล้ว
เมื่อผมคิดถึงตรงนี้ ขนก็ลุกซู่ ผมกระโดดจนตัวลอย แล้วก็รู้สึกเจ็บจี๊ดที่หน้าอก
ขึ้นมา แล้วผมก็มาโผล่ที่นี่นี่แหละ หมออยากรู้มั้ยคําตอบของผมคืออะไร
ครับ ภาษาไทย... ครับ อะไรนะ อาการผมแย่มากหรือ เดี๋ยวสิหมออย่าเพิ่งไป
กลับมา กลับมาช่วยผมก่อน อย่าให้ผมตาย
ผมเป็นคนใช้ภาษาไทยคนสุดท้ายแล้วนะ
๒๒ [Type text] [Type text]

ไม่รู้เรื่อง
*
ชนกพร พัวพัฒนกุล

ต่อให้พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น ก็ไม่ได้แปลว่าคนเราจะเข้าใจกันมากขึ้น


เสมอไป
ไม่อย่างนั้นเราคงไม่ได้ยินเสียงบ่นว่า “พูพูดอะไรก็ไม่รู้ ไม่เห็นรู้เรื่อง”
ง “ไม่
ประโยชน์หรอก เสี ยเวลาเปล่า คนอย่างนี้คุ ยไปก็ ไ ม่รู้เรื่ อง” หรือที่สุภ าพหน่ อยก็ว่ า
“อาจารย์พูดใหม่ได้ไหมครับ ผมฟังไม่รู้เรื่อง” อยู่เกือบทุกวี่ทุกวัน
นับวันคําว่า “ไม่รู้เรื่อง” ก็จะยิ่งกลายเป็นอุปสรรคสําคัญในการสื่อสารของ
คนไทยเราเข้าไปทุกทีๆ ส่วนจะโทษว่าใครพูดไม่รู้เรื่อง ใครฟังไม่รู้เรื่องนั้น อันนี้สังเกตได้
ว่าจะขึ้นอยู่กับสถานภาพของคนพูดและคนฟังเป็นหลัก

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๒๓

พูดง่ายๆ ก็คือฝ่ายที่มีสถานภาพด้อยกว่า ก็มักจะ(จํา)ยอมรับไปว่า “ฟังไม่รู้


เรื่องเลยครับ/ค่ะ” ทั้งๆ ที่ในใจหรือลับหลังนั้นอาจประณามดังๆ ว่า “คุณ(เอ็ง)นั่นล่ะ...
ที่พูดไม่รู้เรื่อง”
ระดับ ภูมิ ต้า นทานความ “ไม่ รู้เ รื่อ ง” ของแต่ล ะคน แต่ล ะกลุ่ม แต่ล ะเพศ
แต่ละวัย ก็ไม่เท่ากัน บางประโยควัยรุ่นฟังแล้วรู้เรื่องกันดี แต่ก็เล่นเอาผู้ใหญ่เกิดอาการ
งงงวยไปตามๆ กัน
ภู มิ ต้ า นทานประเภทนี้ ส ร้ า งกั น ได้ อาจารย์ บ างท่ า นนั ก ศึ ก ษาฟั น ธงว่ า
สอนไม่รู้เรื่องตั้งแต่เข้าครั้งแรก แต่พ อสอนๆ เรียนๆ ไปเรื่อยๆ เริ่มจับแนวได้ ค่อยๆ
รู้เรื่องขึ้นมาก็มี
แล้วทําไมเราถึงพูดกันไม่รู้เรื่อง ทั้งๆ ที่ต่างคนต่างก็ใช้ภาษาไทยเหมือนกัน
พวกที่ “พูดไม่รู้เรื่อง” เพราะได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ทุพพลภาพ
หรื อ ไร้ ซึ่ ง สติ สั ม ปชั ญ ญะ อั น เกิ ด เกิ ด ความ “เมา” ในลั ก ษณะต่ า งๆ เช่ น เมาสุ ร า
เมากัญชา เมาความรู้ เมาตําแหน่งทางวิชาการ หรือแม้แต่พวกที่เมาอํานาจ จนพูดหรือ
ฟังอะไรไม่รู้เรื่อง รวมถึงพวกที่จงใจพูดให้ไ ม่รู้เรื่องเพื่อจุดมุ่งหมายอะไรบางอย่างนั้น
คงต้องยกให้เขาไป เพราะงานนี้เห็นทีจะแก้ยาก
แต่สําหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ ที่บางครั้งบางคราอาจจะเผลอเข้าข่ายเป็น
ผู้ป่วยโรค “ไม่รู้เรื่อง” กับเขานี่ อาจจะยังพอมีหนทางรักษาได้
เท่ า ที่ ไ ด้ มี โ อกาสพู ด คุ ย กั บ “คนปกติ ” หลายคนที่ ทั้ ง ที่ รู้ ตั ว และไม่ รู้ ตั ว ว่ า
“พู ด ไม่ รู้ เ รื่ อ ง” ก็ พ อจะจั บ เค้ า ได้ ว่ า ปั ญ หานี้ มี ที่ ม าจากพวกที่ ส่ ว นใหญ่ มี อ าการ
“ไม่รู้จักฉัน...ไม่รู้จักเธอ” ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
เหตุที่ต้องหยิบยืมชื่อเพลงดังเพลงนี้มาใช้ เพราะอาการของคนกลุ่มนี้ที่พบก็คือ
เวลาพูดคุยกับใคร คนพูดหรือคนฟัง (หรือทั้งสองฝ่าย) จะไม่ค่อยสนใจว่าคู่สนทนาของตน
เป็นใคร ต้องการอะไร มีความรู้ในเรื่องที่สนทนาหรือไม่ มากน้อยเพียงใด มีทัศนคติหรือ
ประสบการณ์เกี่ยวกับคู่สนทนาหรือเรื่องที่กําลังสนทนาอย่างไร ที่สําคัญไม่ได้พิจารณาเลย
ว่าคู่สนทนากับตั วเรานั้น มี พื้ นฐานความรู้ ความคิ ด หรื ออยู่ สถานการณ์ที่ เหมือนหรื อ
ต่างกันอย่างไร ได้แต่พูดๆๆๆ ไป โดยเอาแต่ตนเองเป็นที่ตั้ง
พูดง่ายๆ ก็คือลืม เอาใจเขามาใส่ใจเรา นั่นเอง
๒๔ [Type text] [Type text]
เวลาคุยกับคนประเภทนี้ ก็เหมือนกับคนหนึ่งหันซ้าย คนหนึ่งหันขวา พอต่างคน
ต่างเดินหน้า ถ้าไม่ชนกันดังโครม!!! ก็คงไปกันคนละทิศคนละทางจนกู่ไม่กลับ อย่าว่าแต่
นิสิตนักศึกษา หรือคนทั่วๆ ไปเลย บรรดาครูบาอาจารย์ และนักวิชาการนี่ล่ะตัวดี เวลา
พูดกับใครๆ แม้แต่คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเดียวกัน ก็ชอบโหมประโคมใส่ศัพท์แสงวิชาการ
ลงไปจนคนเขาส่ายหน้า พากันลงมติว่า “ไอ้นี่เก่งเสียเปล่า พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง”
คนอีกจําพวกหนึ่งที่มักถูกต่อว่าว่าพูดไม่รู้เรื่อง ก็คือพวกที่มีอาการ “คิดวน
คิดมาก คิดยาก คิดซับซ้อน” คิดอะไร ก็ไม่ยอมคิดให้จบ พูดให้จบเป็นเรื่องๆ ไป ทีนี้
พอถ่ ายทอดความคิ ดออกมาเป็นภาษา ก็ เลยเกิ ดเป็นประโยคซ้อนประโยค นึกอะไรได้
ก็อธิบายขยายความซ้อนๆ เข้าไป โดยไม่สนใจว่าความคิดที่เสนออกไปนั้นครบถ้วนกระบวน
ความแล้วหรือยัง แถมพอซ้อนๆ กันมากเข้า บางครั้งก็หลงลืมไปว่ากําลังพูดเรื่องอะไร
หลงประเด็นไปออกอ่าวออกทะเล ชนิดขึ้นต้นเป็นลําไม้ไผ่ เหลาลงไปกลายเป็นไม้คมแฝก
(ย้อนกลับมาฟาดเอาหัวตัวเอง) ก็มี บางคนพูดเรื่องหนึ่ง แป๊บๆ ก็เปลี่ยนไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง
แป๊บๆ ก็อ้าว! กลับมาพูดเรื่องเดิมอีกแล้ว
ข้างฝ่ายพวกที่ “ฟังไม่รู้เรื่อง” นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากพวกที่มีอาการ “ไม่ได้
ตั้งใจ” คือไม่ตั้งใจฟังอีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่ก็มัวแต่จ้องจะเป็นฝ่ายพูดเสียเองอยู่ร่ําไป หรือ
มิฉะนั้นก็เป็นพวกที่ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะมัวแต่คิดว่าคนที่พูด เรื่องที่พูด หรือคําตอบที่ได้ฟัง
นั้นมัน “ไม่ได้ดังใจ” เมฆหมอกแห่งอคติก็เลยพาลมาอุดหูอุดตาเสีย ทีนี้พูดซ้ายก็ฟังเป็น
ขวา พูดขวาก็ฟังเป็นซ้ายไปได้ง่ายๆ
แต่ทั้งสองพวกนี้ยังไม่น่าเสียดายเท่ากับพวกที่ “ฟังไม่เป็น”
พวกฟังไม่เป็นนี่ ตั้งใจก็แล้ว เปิดใจก็แล้ว แต่ก็ยังฟังอะไรๆ ไม่เข้าใจ นักศึกษา
คณะวิศวะคนหนึ่ง มาสารภาพว่า ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยมา เวลาฟังเลคเชอร์ เขาจะจับ
ได้แต่พวกตัวเลข สมการ และสูตรคณิตศาสตร์ทั้งหลาย แต่พอฟังอะไรที่เป็นภาษา เป็น
ข้อความ ฟังเท่าไรๆ เข้าหูซ้ายแล้วก็ไหลออกหูขวาจนหมด อย่างเวลาฟังเลคเชอร์วิชา
ประวัติศาสตร์ ก็จะจับความได้เฉพาะพวก พ.ศ. หรือจํานวนคน จํานวนครั้งเท่านั้น แต่
เวลาคุยกันกับเพื่อนนี่ไม่เป็นไร ยังปกติดี
คุยไปคุยมาได้ความว่า ที่เป็นอย่างนี้เพราะวิชาที่เขาเรียนส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง
คํานวณมาก ยิ่งสมัยมัธยมยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเรียนแต่กวดวิชา เน้นจําสูตร จําสมการ
แม้แต่วิชาภาษาไทยยังท่องจําแต่เนื้อหาที่ผ่านการย่อยมาป้อนให้ถึงที่ (โดยร.ร.กวดวิชา)
๒๕

เมื่อขาดการฝึกฝนอย่างสม่ําเสมอ ทักษะการฟัง การจับใจความ และการสรุปความก็เลย


เข้าหม้อไปหมด พอมาถึงระดับมหาวิทยาลัยเลยแทบจะต้องมาตั้งต้นกันใหม่
ได้ฟังแล้วก็ตกใจ!
บางคนอาจจะมองว่าปัญหาการสื่อสารกันไม่รู้เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่รู้
เรื่องก็คุยกันใหม่ พอฟังพอใช้บ่อยๆ เข้า เดี๋ยวคนก็ปรับ “ต่อมรับรู้” (คงคล้ายๆ กับ
ต่อมรับรส) ของตัวเองให้เข้ากับข้อความประเภทนี้จนพอกล้อมแกล้มสื่อสารกันไปได้เอง
คนที่คิดแบบนี้อาจจะลืมไปว่า เวลาของคนเราทุกวันนี้มีค่าเกินกว่าจะมาคอย
อธิบายเรื่องเดิมกันซ้ําๆ โดยไม่จําเป็น และอาจจะลืมไปด้วยว่า ในสังคมที่เต็มไปด้วย
ความแตกต่างทางความคิดอย่างทุกวันนี้ บางครั้งการสื่อสาร “เรื่องไม่เป็นเรื่อ ง” ที่
“ไม่รู้เรื่อง” อาจจะ “เป็นเรื่อง” ขึ้นมาจนเราไม่มีโอกาสที่จะกลับมาพูดกันใหม่ด้วยซ้ําไป
จริงไหม?
๒๖ [Type text] [Type text]

นามอะไรช่างมันขอ “อัน” ไว้ก่อน


*
อรวี บุนนาค

นักศึกษา : โอ้โห...อาจารย์ซื้อโน้ตบุ๊คอันมาใหม่เหรอคะ แหม...อันเล็กดีจัง


อาจารย์ : อ๋อ...เปล่าจ้ะ ครูซื้อโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ต่างหาก เครื่องเล็กดีใช่มั้ยล่ะ
นักศึกษา : ???

ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง
ลูกค้า : พี่คะ ขอกากหมูเพิ่มด้วยค่ะ
เด็กเสิรฟ์ : จะรับกี่อันครับ
ลูกค้า : (คิดในใจว่า “เอ๊ะ! เดี๋ยวนี้กากหมูเขาขายเป็นอันแล้วหรือ”
แต่ก็ลองสั่งไปเล่นๆ ด้วยความอยากรู้ว่าเด็กเสิรฟ์ จะนํากากหมู
มาให้ในลักษณะไหน) ขอ ๑ อันละกันค่ะพี่
เด็กเสิรฟ์ : นี่ครับ (ยกถ้วยกากหมูซึ่งมีกากหมูหลายชิ้นมาให้ !!!)

ปั จ จุ บั น การใช้ คํ า ลั ก ษณนามในภาษาไทยมี ค วามคลาดเคลื่ อ นไปจาก


หลักเกณฑ์ที่ราชบัณฑิตยสถานจะกําหนดไว้มาก
ข้อสังเกตที่สําคัญประการหนึ่งคือ ผู้ใช้ภาษาโดยเฉพาะวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะใช้
เลือกคําลักษณนาม “อัน” ร่วมกับคํานามได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
ถึงแม้ว่าทุกวั นนี้ภาษาไทยของเรามี คลังคําศัพ ท์ที่ เพิ่มขึ้น มีคํ านามและคํ า
ลักษณนามเกิดขึ้นใหม่จํานวนมาก แต่แทนที่จะเลือกใช้คําลักษณะนามให้เหมาะสม
แก่คํานั้นๆ ผู้พูดภาษาไทยกลับหลีกหนีความซับซ้อนโดยหันไปใช้คําลักษณนาม “อัน”
ร่วมกับคํานามต่างๆ แทน

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๒๗

เมื่อกล่าวถึงคําลักษณนาม “อัน” จะสังเกตได้ว่า เป็นคําลักษณนามที่ไ ม่มี


กฎเกณฑ์ในการใช้อย่างตายตัวเท่าไรนัก กล่าวคือ เป็นคําลักษณนามทั่วไป (general
classifiers) มีขอบเขตการใช้กับคํานามกว้างมาก รวมทั้งไม่เจาะจงว่าจะใช้กับสิ่งของที่มี
รูปทรงใดและไม่อาจจํากัดลักษณะของคํานามได้อีกด้วย จนมีผู้กล่าวว่า “อัน” เป็นคํา
ลักษณนามครอบจักรวาล (ชวนพิศ อิฐรัตน์, ๒๕๒๓)
ด้วยเหตุนี้จึงทําให้ผู้ใช้ภาษานิยมนําคําลักษณนาม “อัน” ไปใช้กับคํานามอื่นๆ
มากมาย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้ภาษาไม่แน่ใจว่าคํานามที่กําลังกล่าวถึงนั้นใช้ร่วมกับคํา
ลักษณนามใดหรือในบางครั้งผู้ใช้ภาษาก็จะใช้คําลักษณนาม “อัน” ตามความสะดวก
ประเภทที่ว่า “จะเป็นคํานามอะไรก็แล้วแต่ ขอฉันใช้เรียกเป็น “อัน” ไว้ก่อน” เลยไม่
ต้องแปลกใจที่เด็กสมัยนี้ (อาจหมายรวมถึงผู้ใหญ่บ้างคนด้วย) จะเรียก ปากกา ดินสอ
ช้อน เป็น “อัน” แทนคําว่า “ด้าม” “แท่ง” และ “คัน”
ด้วยความที่เป็นครูภาษาไทยนิสัยช่างสงสัยเลยอดไปถามเด็กๆ นักศึกษาไม่ได้
ว่า “หนูไม่ทราบหรือคะว่าคํานามพวกนี้มีคําลักษณนามว่าอย่างไร”
คําตอบที่ได้นั้นทําให้ผู้ถามถึงกับ “อึ้ง” ไปหลายวินาที เมื่อนักศึกษาตอบว่า
“ทราบค่ะ แต่จะเรียกทําไมให้มันยุ่งยากล่ะคะ ใช้ “อัน” ไปให้หมด ง่ายดี”
“เวลาที่สอบหรือเวลาเขียนรายงานก็ใช้ให้ถูกต้อง แต่ภาษาพูดปกติก็ใช้ คําว่า
“อัน” ไปแหละ ดีแล้วครับ”
“ก็ทราบนะคะว่ามีลักษณนามคือคําว่าอะไร แต่ไม่ว่าเราจะพูดว่า ขอปากกา
๒ ด้ามหรือ ๒ อัน ยังไงคนฟังก็เข้าใจอยู่ดีว่าเราต้องการปากกาจํานวนเท่าไหร่”
นี่เป็นแค่ค วามคิดบางส่วนที่ สะท้อนมุ มมองบางประการเกี่ยวกับ การใช้คํ า
ลักษณนามเท่านั้น
๒๘ [Type text] [Type text]
ประเด็ น ที่ น่ า สนใจนอกจาก
เรื่องความสะดวกในการใช้แล้ว เรื่องของ
การสื่อความหมายก็มีส่วนสําคัญที่ทําให้
ผู้ใช้ภาษาไทยในปัจจุบันกลับละเลยที่จะ
เลื อ กใช้ คํ า ลั ก ษณนามให้ ถู ก ต้ อ งตาม
มาตรฐาน เพราะเห็ น ว่ า สามารถใช้ คํ า
ลักษณนาม “อัน” แทนที่คําลักษณนาม
อื่นๆ โดยสื่อความหมายเหมือนเดิมได้ แต่เมื่อพูดถึงเรื่องความหมายของคํ วามหมายของคําลักษณนาม
แล้ว ทําให้นึกถึ
กถึงบทสนทนาในร้านก๋วยเตี๋ยวที่ยกมาข้างต้นว่า ถ้าหากลูกค้าตีความหมาย
ว่า ร้านนี้ขายกากหมูเป็น “อัน” จึงสั่งกากหมู ๒๐ อัน (ชิ้น) มารับประทานกั ประทาน บก๋วยเตี๋ยว
จะเกิ ด อะไรขึ้ น เมื่ อ พนั ก งานเสิ ร์ ฟ ยกกากหมู ม าให้ ๒๐ ถ้ ว ย!! ย (คงจะเลี่ ย น
ไม่น้อย) จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ก็พบข้อสังเกตว่า หากใช้คําว่า “อัอัน” แทนคํานาม
ที่เป็นหน่วยเล็กเหมือนกัน เช่น ใช้แทนคําว่า “ชิ้น” ก็คงจะพอยอมรับได้ว่าสามารถ
ใช้แทนที่กันโดยที
น โดยที่ผู้พูดและผู้ฟังก็ยัง เข้าใจความหมายที่ตรงกันอยู่ แต่ ในกรณีที่ผู้พู ด
เลื อ กใช้ ลั ก ษณนาม “อั น ” แทนคํ า ลั ก ษณนามรวมหมู่ อย่ า งคํ า ว่ า “ถ้ ว ย”
ซึ่งประกอบด้วยลักษณนามย่อยอยู่ภายใน (เราต้ เราต้องไม่ลืมว่า ในตัวอย่างที่ยกมานี้ กากหมู
๑ ถ้ว ยประกอบด้ว ยหลายชิ้น ) จะทํา ให้เ กิดข้อ โต้แ ย้งขึ้ นทัน ทีว่า สามารถเกิด ความ
เข้าใจผิดในการสื่อสารได้แน่นอน
คําลักษณนามก็จัดเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของภาษาไทย ดังนั้นในฐานะ
ผู้ใช้ภ าษาเราจึงควรเอาใจใส่ใ นการเลือ กใช้ คําลัก ษณนามให้ถูก ต้องและฝึ กใช้ ให้ถู ก
ระเบียบแบบแผน
แม้ ว่ า “อั น ” เป็ น ลั ก ษณนามกลางที่ ใช้ใ ช้ กั บ คํ า นามได้ ห ลากหลายก็ ต าม
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปรากฏใช้กับคํานามทุกคําจนทําให้หลงลืมคําลักษณนามที่
ถูกต้องจริงๆ ไป
๒๙

จําเป็นต้องมีดอกไม้หลากหลายพันธุ์
*
ธีระยุทธ สุรยิ ะ

วันหนึ่งในการเรียนวิชาภาษากับสังคม อาจารย์ที่เคารพสอนว่า โลกนี้ประกอบ


ไปด้วยหลายภาษาและภาษามีลักษณะเป็นลําดับขั้น การที่ภาษามีความหลากหลายก็
เหมือนกับสวนที่ประกอบไปด้วยดอกไม้นานาชนิด สิ่งที่น่ากลัวคือดอกไม้หรือภาษา
ที่เล็กๆ ที่ขึ้นตามหลืบสวนบางชนิดกําลังจะสูญพันธ์ เมื่อดอกไม้ต้นสุดท้ายนั้นตายลง
พูดง่ายๆ คือ ภาษาบางภาษากําลังจะหายไปเมื่อคนที่พูดภาษานั้นๆ คนสุดท้ายหมดลม
หายใจ
อาจารย์อธิบายต่อไปว่าภาษาไทยของเรายังอยู่ในชั้นที่สูงเนื่องจากเป็นภาษา
ประจําชาติยากที่จะหายไป แต่ที่น่ากลัวคือภาษาของคนชายขอบที่อพยบมาจากที่ต่างๆ
แล้วอาศัยกันเพียงกลุ่มเล็กๆ เป็นชุมชนของตนคนกลุ่มนี้กําลังถูกกลืนภาษา
จําได้ดีว่าวันนั้นตอนอาจารย์สอนอยู่ผมแอบคิดในใจเงียบๆ (ตอนหลังมานั่งคิด
ว่าสิ่งที่คิดช่างโง่เขลา) ว่า จะเป็นไรไปนะหากภาษาเหล่านั้นจะหายไป ดีด้วยซ้ําเพราะ
บางทีเราก็นําเรื่องภาษา เรื่องสําเนียงมาตัดสินกัน มาเหยียดกัน คงดีไม่น้อยถ้าเราพูด
ภาษาเดียวกัน บางทีความขัดแย้งการแบ่งแยกต่างๆ อาจจะลดลงไปก็ได้ ความคิดนี้
ไม่เคยหายไปเลยนานๆ วันดีคืนดีเวลานึกวิชานี้ก็จะมีความคิดนี้ผุดขึ้นมาให้คิดอีกครั้ง
หลังจากนั้นไม่นานเมื่ออยู่ในสถานที่เงียบๆ แห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัย เรื่องราว
ที่สงบนิ่งในสมองได้ผุดขึ้นมาอีกครั้ง แต่คราวนี้ผมนั่งคิดแล้วพบว่าที่ผมคิดไม่ใช่สิ่งที่
ถูกต้อง (บางทีเราก็พ บคําตอบบางอย่างเมื่อเราได้หยุดคิด) การที่จะปล่อยให้ภาษา
บางภาษาหายไปจนเหลื อ ภาษาเดี ย วนั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ ไ ม่ ใ ช้ เ รื่ อ งที่ ถู ก นั ก เพราะภาษา
ที่แตกต่างกันไม่ใช่ตัวที่ทําให้เกิดการแบ่งแยก แต่ทัศนคติของคนต่างหากที่เป็นตัวกําหนด
ความคิด ความรู้สึก

*
นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รุ่น ๒)
๓๐ [Type text] [Type text]
หลายๆ ครั้งเรามองว่าสําเนียงที่ไม่ใช้สําเนียงกลางฟังดูตลกขบขัน นานๆ เข้า
ความคิดเหล่านี้ถูกผลิตซ้ําแล้วซ้ําอีกจนกลายเป็นว่าคนรุ่นใหม่ๆ ที่พูดภาษาถิ่นก็อาย
ที่จะพูดหรือบางคนพูดภาษาถิ่นไม่ได้เลย วันหนึ่งภาษาถิ่นอาจเจอชะตากรรมเดียวกันกับ
ภาษาชายขอบก็เป็นได้
ผมลองคิดเล่นๆ ว่าหากไม่มีภาษาถิ่นต่างๆ ของไทย จะเป็นอย่างไร?
คําตอบที่ได้อาจจะไม่ใช่คําตอบเชิงวิชาการแต่ที่ผมพอบอกตัวเองได้คือ ผมจะ
ไม่ได้ดื่มด่ําความหวานของภาษาถิ่นเหนือจากเพลงของจรัญ มโนเพชร เวลาไปเที่ยว
เชียงใหม่คงไม่ได้อมยิ้มเมื่อมีคนพูดภาษาเหนือด้วย ไม่ได้ชื่นชมกับความจริงใจและความ
สนุกสนาน ซื่อๆ ตรงๆ ของคนภาคอีสานที่ถ่ายทอดผ่านเพลง และคงรู้สึกแปลกๆ เมื่อพี่
น้องทางใต้พูดเหมือนคนภาคกลางไม่ได้พูดเร็วๆ แบบที่เป็นอยู่
แล้วถ้าวันหนึ่งภาษาที่ถูกกลืนจากลําดับขั้นล่างๆ จนมาถึงขั้นที่เป็นตําแหน่ง
ของภาษาไทยเราหละ(จริงอยู่ว่ายากมากที่จะเกิดขึ้น แต่ก็ไ ม่ไ ด้หมายความว่าเป็นไป
ไม่ได้) เราจะมีความรู้สึกยังไงหากวันหนึ่งภาษาไทยที่มีมานานค่อยๆ ถูกกลืนไปแล้วเรา
ต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยด้วยภาษาต่างประเทศ?
ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ควรดํารงไว้แบบที่อาจารย์ได้สอนมาจริงๆ ในสวน
จําเป็ นต้องมีดอกไม้ที่ หลากหลายชนิด หากการมี ดอกไม้หลากหลายชนิ ดทําให้สวน
สวยงามน่ า มองไม่ น่ า เบื่ อ การรั ก ษาเอกลั ก ษณ์ ท างภาษาของภาษาไว้ ก็ ก่ อ ให้ เ กิ ด
วัฒนธรรมที่หลากหลายเช่นกัน แต่สิ่งสําคัญอยู่ที่เจ้าของภาษาต้องภาคภูมิใจในภาษาของ
ตน ใช้ภาษาอย่างถูกต้องและยอมรับความแตกต่างอย่างเข้าใจ
ทัศนคติการยอมรับความแตกต่างอย่างเข้าใจนั้น ใช้ได้กับหลายๆ เรื่องไม่ใช่
เพียงแต่เรื่องภาษาแต่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความแตกต่างด้านอื่นๆ ทั้งศาสนา ภาษา
ถิ่นที่อยู สีผิว ฯลฯ เพราะหากเรามีมองความแตกต่างอย่างเข้าใจ ยอมรับและเคารพกัน
และกัน ให้เกียรติกัน
เพราะความแตกต่างก็ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นความสวยงาม
๓๑

ภูมิปัญญาที่ส่องสะท้อนจากมาตราตวงวัดในตํารายาไทย
*
พิชณี โสตถิโยธิน

“มาตราตวงวัด” แบบไทยมีใช้มานาน ดังเห็นได้จากมาตราตวงวัดที่ปรากฏ


ในตํารายาของการแพทย์แผนไทย
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อกับไทยเริ่มนําวิธีการรักษาแบบ
ตะวั นตกเข้ ามา และไทยก็ไ ด้รั บเอาอารยธรรมการแพทย์แ ผนตะวันตกเข้ามาอย่า ง
ต่อเนื่อง สิ่งหนึ่งที่ติดมากับการรักษาของการแพทย์แผนตะวันตกคือมาตราตวงวัดระบบ
เมตริกหรือแบบสากลนั่นเอง
เมื่อการรักษาแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้นตามลําดับ
นานวั น เข้ า มาตราตวงวั ด ของไทยก็ เ ริ่ ม เลื อ นหายไปจากสั ง คมและวั ฒ นธรรมไทย
ตามลําดับด้วยเช่นกัน หากมองย้อนดู “มาตราตวง-วั ดของไทย”จากตํารายาของ
การแพทย์แผนไทยจะพบว่ามีความน่าสนใจมิใช่น้อย ดังเช่น
มาตราตวง ได้แก่
๑ ทะนาน จุ ๑ ลิตร หรือ ๑,๐๐๐ ซี.ซี. หรือ ๑ กิโลกรัม
๑/๒ ทะนาน จุ ๑/๒ ลิตร ๕๐๐ ซี.ซี.
๑๕ หยด จุ ประมาณ ๑ ซี.ซี.
๑ ช้อนกาแฟ จุ ประมาณ ๔ ซี.ซี.
๑ ช้อนหวาน จุ ประมาณ ๘ ซี.ซี.
๑ ช้อนคาว จุ ประมาณ ๑๕ ซี.ซี.
๑ ถ้วยชา จุ ประมาณ ๓๐ ซี.ซี.
มาตราวัด ได้แก่
๒ เมล็ดงา เป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก
๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี (วัดตามยาว), ๑ กล่อม

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓๒ [Type text] [Type text]
๒ กล่อม เป็น ๑ กล่ํา
๑๕๐ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ หยิบมือ
๔ หยิบมือ เป็น ๑ กํามือ
๔ กํามือ เป็น ๑ ฟายมือ
๒ ฟายมือ เป็น ๑ กอบมือ
๔ กอบมือ เป็น ๑ ทะนาน
๑,๖๐๐ ทะนาน เป็น ๑ เกวียน
จากตัวอย่างมาตรมวัดข้างต้น คําว่า “องคุลี” คือปริมาณที่วัดได้จาก ๑ ข้อ
ของนิ้วกลาง ซึ่งก็คือความยาวจากปลายนิ้วลงมาจนถึงข้อนิ้วข้อที่ ๑ ส่วนคําว่า “กล่ํา” นี้
มาจาก เมล็ดมะกล่ําตาช้าง
จากหน่วยของมาตราตวงวัดของไทย จะเห็นได้ว่าขอบเขตทางความหมายของ
หน่ว ยตวงซึ่งเป็ง เป็ นมาตราสํา หรับ ตวงของเหลวของไทยนั้นจะอาศั ยจํ านวนหยด หรื อ
อุ ป กรณ์ ก ารรั บ ประทานช่ ว ยในการบอก
ปริ ม าตร เช่ น ช้ อ นกาแ ฟ ช้ อ นหวาน
ช้อนคาว ถ้วยชา
ส่วนขอบเขตทางความหมายของ
หน่ ว ยวั ด จะอาศั ย ธั ญ พื ช ได้ แ ก่ เมล็ ด งา,
เมล็ดข้าวเปลือก อาศัยเมล็ดพืช ได้แก่ เมล็ด
มะกล่ํ าตาช้ า ง อาศัย อวัย วะร่า งกาย ได้ แ ก่
มือ นิ้ ว มื อ หรื อ อาศั ย พาหนะ ได้ แ ก่ เ กวี ย น ภาพของต้นและเมล็ดมะกล่าํ ตาช้าง
เป็นตัวบอกจํานวนของสิ่งของ
ขอบเขตทางความหมายของมาตราตวงและมาตราวัดของไทยนี้สะท้อนให้เห็น
ถึงวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน ซึ่งมีการใช้ช้อนประเภทต่างๆ ใช้ถ้วยชา ย มีพาหนะคือ
เกวียน รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร พันธุไม้ ไ์ ม้ต่างๆ
มาตราตวง-วัวัดในตํารายาไทยจึงนับเป็นเครื่องบันทึกภูมิปัญญาของคนไทย
สมัยก่อนที่รู้จักนําสิ่งต่างๆ รอบตัวมาใช้ในการสืสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี
๓๓

การใช้ภาษาไทยของนักจัดรายการวิทยุ
*
ฐิติภา คูประเสริฐ

การใช้ภาษาไทยของสื่อมวลชนทําให้ภาษาไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก
ไม่เพียงแต่ดารา นักร้อง และพิธีกรรายการต่างๆเท่านั้น การใช้ภาษาไทยของ
นักจัดรายการวิทยุ และก็มีส่วนทําให้ลักษณะการใช้ภาษาไทยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลง
ไปเช่นเดียวกัน นักจัดรายการวิทยุที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่วนมากคือ โดยนักจัด
รายการวิ ท ยุ เ หล่ า นี้ จ ะเปิ ด เพลง และเปิ ด โอกาสให้ ผู้ ฟั ง โทรศั พ ท์ เ ข้ า มาพู ด คุ ย กั น
นอกจากนี้บางสถานีวิทยุยังให้ความรู้และให้คําปรึกษาในเรื่องต่างๆแก่ผู้ฟังอีกด้วย
ผู้เขียนได้มีโอกาสสังเกตการใช้ภาษา ของนันักจัดรายการวิทยุที่จัดรายการเพลงให้
กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือวัยทํางานฟัง พบว่ามีลักษณะการใช้ภาษาทีที่ควรปรับปรุง ดังนี้
ประเด็นแรก การใช้คํา ในการดําเนินรายการวิทยุในปัจจุบันนั้น สังเกตได้ว่านัก
จัดรายการวิทยุมักใช้คําไม่สุภาพ และนําคําหยาบคาย เช่น กู มึง หรือคําที่มีความหมาย
รุนแรง เช่น ควาย โง่ โกหก มาใช้จัดรายการหรือสนทนาอยู่บ่อยครั้ง จนผู้ฟังไม่รู้สึกว่าคํา
คํานั้นเป็นคําไม่สุภาพ หรือเป็นคําที่มีความหมายรุนแรงอีกต่อไป ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะนั เพราะ ก
จัดรายการวิทยุบางคนต้องการสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมและแสดงความจริ
สนมและแสดงความ งใจกับผู้ฟัง

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓๔ [Type text] [Type text]
หรือต้องการ “ให้สติ” ด้วยถ้อยคํารุนแรง ขณะที่บางคนอาจต้องการแสดงความมีตัวตน
ของตนเอง เพื่ อให้ ผู้ฟังสามารถจดจําชื่ อนัก จัดรายการวิท ยุและคลื่น วิทยุไ ด้ จะได้ มี
ชื่อเสียง นอกจากนี้นักจัดรายการวิทยุบางคนที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศหรือ
อาศั ย อยู่ ใ นต่ า งประเทศนานๆอาจไม่ มี ค วามรู้ แ ละความเชี่ ย วชาญเกี่ ย วกั บ การใช้
ภาษาไทยอย่างเพียงพอจึงนําคําเหล่านั้นมาใช้อย่างผิดๆ และไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีการใช้คําทะลึ่งลามกหรือภาษาสองแง่สองง่าม สาเหตุของการใช้
คําสองแง่สองง่ามของผู้จัดรายการวิทยุอาจเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกสนาน และอาจเป็นการ
สร้างสีสันในการจัดรายการของผู้จัดรายการวิทยอีกทางหนึ่งด้วย
ข้ อ สั ง เกตอี ก ประการหนึ่ ง ก็ คื อ นั ก จั ด รายการวิ ท ยุ นิ ย มใช้ คํ า ทั บ ศั พ ท์
ภาษาต่างประเทศอีกด้วย ทั้งๆ ที่มีคําในภาษาไทยที่สื่อความหมายเช่นเดียวกันคําศัพท์
ภาษาต่างประเทศคํานั้น ส่วนใหญ่คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่ผู้ดําเนินรายการใช้มัก
เป็นคําที่แพร่หลายอยู่ ในสังคม และผู้ฟังส่ วนใหญ่ทราบความหมายของคําคํานี้ เช่ น
“เพลงนี้เป็นเพลงที่นักร้องไทยของเรา featuring กับนักร้องจากต่างประเทศนะครับ”
สาเหตุของการใช้คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศดังกล่าวอาจเกิดจากการที่นักจัดรายการ
วิทยุต้องการสร้างสีสันให้กับการดําเนินรายการของเขา
ประเด็นที่สอง ระดับภาษา จากการสังเกตพบว่าในปัจจุบัน นักจัดรายการวิทยุ
มักใช้ภาษาระดับกันเอง โดยมีการใช้ทั้งภาษาปากและภาษาหยาบปนอยู่ด้วย สาเหตุที่
นักจัดรายการวิทยุใช้ภาษาระดับดังกล่าวอาจเพื่อต้องการใกล้ชิดกับผู้ฟังให้มากขึ้น โดย
ใช้ภาษาที่ผู้ฟังใช้กันในชีวิตประจําวัน
ข้อดีของลักษณะการใช้ภาษาไทยของผู้จัดรายการวิทยุที่กล่าวมาในข้างต้นคือ
ช่วยสร้างสีสันให้กับรายการ ทําให้รายการไม่น่าเบื่อ และทําให้ทั้งผู้จัดรายการวิทยุและ
รายการที่จัดนั้นมีเอกลักษณ์ ส่งผลให้ผู้ฟังจดจํารายการได้ง่าย แต่ข้อเสียนั้นมีมากกว่า
กล่าวคือ การใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าวของผู้จัดรายการวิทยุอาจทําให้เยาวชนอาจ
เข้าใจผิดว่า สิ่งที่ผู้จัดรายการวิทยุใช้นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเกิดการเลียนแบบ จนทําให้
เยาวชนมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ภาษา ใช้คําหยาบ คํารุนแรง คําทะลึ่งลามก
และคําทับศัพท์มากขึ้น ตลอดจนใช้ระดับภาษาไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเทศะ
จนกลายเป็นความเคยชินไปในที่สุด
๓๕

ในฐานะที่ผู้จัดรายการวิทยุเป็นบุคคลสาธารณะ และเป็นอาชีพที่เยาวชนยึดถือ
เป็ น “แบบอย่ า ง” ผู้ จั ด รายการวิ ท ยุ จึ ง ควรใช้ ภ าษาไทยให้ ถู ก ต้ อ งเหมาะสมกั บ
สถานการณ์ แ ละกาลเทศะด้ว ย นอกจากนี้ยั ง ควรใช้ ภ าษาไทยอย่ า งมี ศิ ล ปะอี ก ด้ ว ย
กล่าวคือ ใช้คําต่างๆให้สละสลวย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยให้แก่เยาวชน
๓๖ [Type text] [Type text]

หวามๆ หวานๆ หวามๆ หวานๆ


*
วรรณพร พงษ์เพ็ง

(๑)
คําหวาม ไม่ใช่ คําหวาน
แต่คําหวานก็สร้างความรู้สึกหวามๆได้
ในขณะที่ คํา หวามอาจพาให้
อาจพาให้ ค ลื่น ๆ ขื่ น ๆ คล้ า ยๆจิ บน้ํ า ต้ ม ผั ก ค้า งปี แ กล้ ม
หนังบลูฟิล์มหรือหนังสือปกขาว
...ถ้าใช้แบบขอไปที หรือผิดที่ผิดทาง

(๒)
นึกอยากรู้จักใครคนนั้นกันบ้างไหม
ก็คนแรกที่ใช้คําว่า “หวาม” และ “หวาน” – นั่นแหละ
หวาม
จะวูบหวาม วาบหวาม หวิวหวาม หรือหวามๆ - ก็ตามที
“หวาม” เสียงคํากับความรู้สึกไปกันได้ดี ถ้าไม่เชื่อลองออกเสียงเบาๆ - ห้ามตะโกน!

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓๗

แต่หากใครอุตริถาม(ว่าที่)แฟนว่า “หวามมั้ย” เห็นทีไม่แคล้ว - คงคลาดแคล้ว


แน่นอน
ในทางกลับกัน
หวาน
เมื่อเรียกชื่อใครสักคนว่า น้องหวาน พี่หวาน หนูหวาน แม่หวาน คุณหวาน
หรือผู้ชายปากหวานลองชมสาวสักคนว่า ตาหวาน หน้าหวาน เสียงหวาน....คงมี
หวานใจ แน่นอน
แม้แต่ใครผู้ใด มีระดับสารเคมีในสมองไม่สมดุล คล้ายจะซึมเศร้า ลองเรียกหา
อะไรหวานๆ มารับประทาน
“หวาน”คํานี้ จะกลายเป็น ยาชูกําลัง – ได้โดยพลัน
ทั้งเสียงคํากับความรู้สึกก็ไปกันได้ดี – อีกเช่นกัน
การสร้างภาษาจึงเป็นทั้งสัญชาตญาณ และการสั่งสมขัดเกลาสัญชาตญาณ
นั้น –ให้กลายเป็นความรู้

(๓)
เรื่องแต่ง
ถ้า “วิจิตรกามาคดี” ของไทย
นับแต่ในสมัยโบร่ําโบราณ “วรรณคดีขึ้นหิ้ง” ตรงเนื้อความของบทอัศจรรย์
และ บทเกี้ยวบทจีบ
ล้วนอุดมไปด้วยถ้อยคําหวามๆหวานๆ
หากเป็นนวนิยาย “ชั้นครู” รุ่นคลาสสิกก็ต้อง อุษณา เพลิงธรรม
“ปกขาว” รุ่นกลางเก่ากลางใหม่ ต๊ะ ท่าอิฐ - ยังพอหาอ่านได้
ร่วมสมัยสักหน่อย ต้องลองพลิกไปดู คํา ผกา สุจินดา อีแร้ง อุทิศ เหมะมูล..
และอีกมากมาย
ถ้าเป็นฉากสังวาสแบบตะวันตกอย่าง Lady Chatterley’s Lover ของ D.H.
Lawrence
แปลเป็นไทยในชื่อว่า ชู้รักเลดี้เชตเตอร์เลย์ โดย “แอนน์” (ปี พ.ศ.๒๔๙๕)
๓๘ [Type text] [Type text]
อ่านแล้ว มองเห็นจารีตแบบผู้ดีอังกฤษ และวิธีแหกคอกของ “เลดี้” – ใน
ความหมายของ “คน”
ถ้าอินเดีย ลองหาอ่านใน โลกียนิยาย หรือ The Indian Ribaldry ฉบับแปล
โดย ปรีชา ช่อปทุมมา
แล้วจะเข้าใจว่า แรนเดอร์ กีย์ ผู้แต่งรวบรวม สินธูคดี (Indology) ของปราชญ์
โบราณ
ต้องการบอกว่า – เซ็กส์/คน/การหลุดพ้น เกี่ยวพันกันอย่างไร
ถ้าเรื่องแปลจากญี่ปุ่น ฉากสังวาสขั้นประณีตขอแนะนํา
รักด้วยเลือด ของ ยูกิโอะ มิชิมา(Yukio Mishima )
การพรากจากของชาย-หญิง (ในความหมายของคู่ชีวิตและเพื่อนชีวิต) กับอุดม
คติของ ซามูไร นั้นเป็นเช่นไร
เห็นแล้วใช่ไหม
ในวรรณคดีกับวรรณกรรมไทย (และทั้งโลก) อารมณ์หวามๆหวานๆ - ไม่เคย
ขาดตอน
เราอาจมองเห็น ความขบขัน ความเศร้าซึ้ ง ความขยะแขยง ความหดหู่
ความอาบอิ่ม หรือสํานึกใดๆ
อันมีรากจาก เซ็กส์ และ รัก
ผ่านถ้อยคําภาษาที่รองรับความซับซ้อนทางอารมณ์เหล่านี้
ภาษาที่ปรากฏในเรื่องแต่งที่ว่า - เป็นศิลปะ
การสื่อสารด้วยภาษา - ก็เป็นศิลปะด้วยเช่นกัน

(๔)
สําหรับบางคน บางที่ และบางเวลา...
รัก กับ เซ็กส์ = หวาน กับ หวาม
หรือ
รัก กับ เซ็กส์ = หวาน+หวาม กับ หวาม - ก็ตามแต่
รัก/เซ็กส์/หวาม/หวาน
โดยเอกเทศหรือผนวกร่วม - ล้วนมีมนุษย์เป็นผู้ครอบครอง
๓๙

ทั้งตะวันตก-ตะวันออก
ต่างมีตํานานว่าด้วยการ เติมเต็มจิตวิญญาณของคน-ผ่านเรื่องเหล่านี้
หากอ่านเทพปกรณัมของฝรั่ง(Mythology)
เราจะรู้จักไซคี(Psyche)และอีรอส(Eros)
แต่หากฝั่งตะวันออก ก็ต้องพูดถึง อนงค์ (ในความหมายของกามเทพ)
ในวรรณคดีไทยอย่าง พระนลคําหลวง มีตํานานเหล่านี้แทรกไว้
ถ้าไม่รู้จะทําอะไร...อยากให้อ่านดู
ความคิดทั้งหมดทั้งมวล – ล้วนอยู่ในภาษา
มนุษย์เติมเต็มความคิดก็ด้วยด้วยภาษา
หากความเชื่อที่ว่า ความรัก (ต่อสิ่งใดก็ตาม) และเซ็กส์ เป็นแกนกลางของชีวิต
คน - นั้นเป็นจริง
ภาษาก็เป็นสื่อที่เติมเต็ม -ในความหมายนั้น

สัญชาตญาณ ความรู้ และศิลปะการสื่อสารด้วยภาษา - เกี่ยวพันกัน


“หวาม” และ “หวาน” คําไทยสั้นๆ
จึงพาเราเดินบนทางยาวๆ ได้ด้วยประการฉะนี.้
๔๐ [Type text] [Type text]

รสเพลงรัก...จากวรรณคดีของสุนทรภู่
*
วริศรา โกรทินธาคม

ถ้าจะกล่าวถึงกวีที่เป็นสุดยอดด้าน
“ความโรแมนติก” อันดับต้นๆ ของไทย ก็เห็น
จะไม่ มี ใ ครเกิ น กวี เ อกแห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์
“สุนทรภู่” เป็นแน่
ผลงานของท่านนอกจากจะมีผู้นํามา
ดัด แปลงเป็ นสื่ อ ต่า งๆ อาทิ ละคร ภาพยนตร์
การ์ตูน และเกมแล้ว ก็ยังมีผู้นําไปขับร้องเป็น
บทเพลงจนโด่งดังเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปด้วย
บท เพ ลงไ ท ยสาก ลที่ มี ที่ ม าจาก
วรรณคดีของสุนทรภู่ และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมีอยู่หลายเพลง อาทิ เพลงคํามั่ น
สัญญา และ เพลงชั่วนิจนิรันดร ที่ดัดดั แปลงจากเนื้อหาบางตอนในเรื่องพระอภัยมณี เพลง
รสตาล เพลงยากยิ่งสิ่งเดียว และ เพลงน้ําใจน้ําค้าง ที่อาศัยเค้าโครงหรือแนวคิดจาก
นิราศเรื่องต่างๆ ของกวีเอกผู้นี้
บทเพลงแรกที่จะกล่าวถึง มาจากตอนที่พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง พระอภัย
มณีได้กล่าวคําสัญญาต่อนางที่รักว่าจะขอมอบความรักที่มั่นคงให้แก่นางตลอดไปไม่มีวัน
เปลี่ยนแปลง แม้เวลาจะผ่านไปกี่ภพชาติก็ตาม ดังบทกลอนที่ว่า
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟา้ สุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิเ์ ป็นมัจฉา
แม่เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔๑

เจ้าเป็นถ้ําอําไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลลออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
ภายหลังครูสุรพล แสงเอก ได้นําตัวบทวรรณคดีดังกล่าวมาใส่ทํานอง และ
ปรับเปลี่ยนคําบางคําเพื่อให้ขับร้องได้สะดวกและมีเสียงที่ไพเราะขึ้น กลายเป็น เพลง
คํามั่นสัญญา ที่โด่งดังในเวลาต่อมา
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิเ์ ป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้ําอําไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
อีกเพลงหนึ่งที่คงจะได้แรงบันดาลใจมาจากตัวบทวรรณคดีตอนเดียวกัน แต่
นํามาแต่งเป็นเนื้อร้องและทํานองขึ้นใหม่ ก็คือ เพลงชั่วนิจนิรันดร ของครูพยงค์ มุกดา
ที่มีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า
“...รักฉันนั้นเหมือนดังตะวันมั่นรักฟากฟ้า รักดังหมู่ปลารักวารี เหมือนดังกับ
แหวน แสนจะรัก แก้วมณี เหมือนขุนคีรีสวาทพื้นดินเดียวกัน...”
จะเห็นว่าทั้งสองเพลงล้วนแล้วแต่นําเสนอเรื่องราวของความรักที่แน่วแน่มั่นคง
ไม่มีวันแปรเปลี่ยน (แม้จะเป็นเพียงคําพูดก็ตาม) โดยกล่าวเปรียบเทียบกับสิ่งที่ “คู่กัน”
ตามธรรมชาติ และผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ระยะทางและกาลเวลา ใครได้
ฟังคําบอกรักเช่นนี้ก็คงจะอดเคลิบเคลิ้มตามไปไม่ได้
เพลงจากวรรณคดีอีก ๒ เพลง คือ เพลงรสตาล และ เพลงน้ําใจน้ําค้าง มีที่มา
จากวรรณคดีเรื่องนิราศพระบาท เพลงแรกมีที่มาจากวรรคทองที่ขึ้นต้นว่า “เจ้าของตาลรัก
หวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น...” ครูชาลี อินทรวิจิตรนํามาแต่งเป็นเนื้อร้อง โดยมี
ครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นผู้แต่งทํานอง ส่วนเพลงที่ ๒ มีที่มาจากวรรคทองที่ว่า “โอ้กระแสแคว
เดียวทีเดียวหนอ มาเกิดก่อเกาะถนัดสกัดหน้า ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา นี่ฤา
คนจะมิน่าเป็นสองใจ” เพลงนี้ได้ครูแจ๋ว-สง่า อารัมภีร เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทํานอง เดิมใช้
ชื่อเพลงว่า “น้ําใจนาง” ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “น้ําใจน้ําค้าง”
๔๒ [Type text] [Type text]
เจ้าของตาลรสหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ก็ซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง
ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้มชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวง ช้ําอกเหมือนตกตาล
(เพลงรสตาล)
น้ําใจนางเหมือนน้ําค้างในร่มพฤกษ์ เมื่อยามดึกดั่งจะรองออกดื่มได้
ครั้นยามรุ่งสุรีย์ฉายก็หายไป โอ้หนอใจเลือนไปไม่คืนมา
เหมือนกระแสแควเดียวที่เชี่ยวหนอ มาเกิดก่อเกาะถนัดสกัดหน้า
ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา นี่หรือคนจะมิน่าเป็นสองใจ
(เพลงน้ําใจน้ําค้าง)
จะเห็นว่าทั้งสองเพลง กล่าวถึงความรักในเชิงผิดหวัง คือมีทั้งตักเตือนให้ระวัง
เจ็บปวดเพราะความรักและตัดพ้อหญิงคนรัก ทั้งนี้คงเป็นเพราะที่มาของเพลงที่มาจาก
วรรณคดีประเภท “นิราศ” ซึ่งเป็นรูปแบบของวรรณคดีประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เป็น
การแสดงความผูกพันอาลัยต่อคนรักที่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง กวีจึงได้ถ่ายทอดความรัก
ความอาลัยนี้เป็นถ้อยคํา และบันทึกไว้เป็นตัวอักษร นั่นเอง
เพลงสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ เพลงยากยิ่งสิ่งเดียว ซึ่งมีที่มาจาก “นิราศวัดเจ้า
ฟ้า” แต่งคําร้องโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล แต่งทํานองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้ผู้แต่ง
ได้แรงบันดาลใจมาจากกลอนของสุนทรภู่แน่นอน เพราะระบุไว้อย่างชัดเจนในเนื้อเพลง
ว่าเป็น “คําครูสุนทรภู่” ดังเนื้อเพลงว่า
“จะเรียนจะร่ําจะทําอะไรไม่ลาํ บาก ยอดยากอยู่อย่างเดียวเกี้ยวผู้หญิง
คําครูสุนทรภู่กล่าวพาดพิง ฉันไม่ทว้ งติงเพราะว่าสมจริงยิ่งสิ่งใด
....................................................
ทุกบททุกตอนฉันไม่ร้าวรอนไม่อับจน แต่เรียนเรื่องรักหนักในกมลจนปัญญา”
เพลงนี้มีที่มาจากวรรคทองบทที่ขึ้นต้นว่า “ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก...” ซึ่ง
กล่าวเปรียบเทียบการเรียนในเรื่องความรักว่ายากที่สุดในบรรดาการเรียนทั้งหมดนั่นเอง
ครบรสทั้งรัก สุข ทุกข์ โศก แบบนี้ ลองหันมาบอกรักแบบโรแมนติกด้วยบท
เพลงจากวรรณคดีไทยกันบ้างดีไหม
๔๓

บรรณานุกรม
กรมศิ ล ปากร. (๒๕๔๔). พระอภั ย มณี เล่ ม ๒ ของสุ น ทรภู่ . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑๖.
กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาการ.
ชาญ ตระกูลเกษมสุข. (ม.ป.ป.). เพลงรักอมตะ. กรุงเทพฯ: วรรณสาส์น.
ดํ า รงราชานุ ภ าพ, สมเด็ จ กรมพระยา. (๒๕๒๙). ชี วิ ต และงานของสุ น ทรภู่ .
กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.
วั ฒ นะ บุ ญ จั บ (บรรณาธิ ก าร). (๒๕๕๐). บั ณ ณ์ ดุ รี ย์ : วรรณคดี กั บ เพลง เล่ ม ๒.
กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
เอมอร ชิตตะโสภณ. (๒๕๒๑). วรรณคดีนิราศ. ม.ป.ท.
๔๔ [Type text] [Type text]

คะนึงคิด พิศ อนิรุทธ์คําฉันท์


*
วศวรรษ สบายวัน

โอ้เจ็บกูเร่งเจ็บ คือเหน็บเสี้ยนเสียดแดกลาง
ใจจากประจากปาง ประลองกามกามี
โอ้เสียงสําเนียงสัต วร้องในพนาลี
โอ้อกกรอุชี วิตเพี้ยงพินาศนาศ
โอ้แสงพระสุริย์ฉาย รสายเมฆอากาศ
โอ้เจ็บบําราศราส บสว่างคือคมแด

ฉันท์อันแสดงอารมณ์สะเทือนใจยิ่งนี้มาจาก อนิรุทธ์คําฉันท์ วรรณคดีสมัย


อยุธยาตอนต้นเรื่องสําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าดีเด่นทั้งด้านความงามทางวรรณศิลป์
กลวิธีการประพันธ์ และเนื้อเรื่องที่งดงามกินใจ ที่ยกมานี้เป็นตอนพรรณนาอารมณ์ของ
พระอนิรุทธ์ที่แสดงให้ผู้เสพวรรณคดีประจักษ์ถึงความร้อนใจของชายหนุ่มที่ต้องพลัด
พรากจากคนรัก ความกระวนกระวายใจนี้ดูหนักหนาสาหัสยิ่งต่อชีวิต แม้รักที่ทุกร้อนใจ
อยู่นี้จะเป็นรักเพียงข้ามคืนเท่านั้น
ความรู้สึกทุกข์ร้อนใจนี้เกิดจากการพลัดพรากนางอุสาที่พระไทรได้อุ้มสมเมื่อ
คืนก่อน หลังจากพระไทรอุ้มพระอนิรุทธ์กลับมาคืนที่ อารมณ์อันร้อนรนรุนแรงนี้แสดงให้
เห็นถึงความจริงถึงการพลัดพรากจากรักที่ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด หากเป็นเรื่องความ
รักไม่มีผู้ใดเคยยั้งใจหรือชะลอความรู้สึกที่พลุ่งพล่านนั้นสักครั้ง แม้ความรู้สึกนั้นจะเป็น
ทุกข์ก็ตาม

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔๕

วรรณคดี โ บราณอย่ า งอนิ อนิ รุ ท ธ์ คํ า ฉั น ท์


จึ ง โบราณตามคํ า เรี ย กชื่ อ หรื อ จั ด ประเภทวรรณคดี
อย่ า งหยาบๆ เท่ า นั้ น หากแต่ ใ นเรื่ อ งการแสดงหรื อ
สะท้ อนอารมณ์ ความรู้สึ กมนุ ษย์ แล้ ว อนิรุ ทธ์ คํา ฉัน ท์
ร่วมยุค ร่วมสมัย และข้ามกาลเวลา ทั้งยังละเอียดอ่อน
ในการถ่ายทอดอารมณ์มนุษย์ยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการ
เลือกร้อยถ้อยคําของกวี
คํ า ต่ า งๆ ที่ ร้ อยเรี
อ ยเรี ย งกั น ในฉั น ท์ ที่ ย กมานี้
แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจระหว่างเสียงกับการเชื่อมโยงความรู้สึก อาทิ การย้ําคํา “โอ้”
ในฉันท์ทุกบท คํา “โอ้” เป็นคําครุสระเสียงยาว เสียงครุที่ลากทอดยาวเช่นนี้ช่วยสื่อถึง
การทอดอารมณ์ความรู้สึกที่หนัก ช้า และทนทุกข์ ทั้งยังเชื่อมโยงถึงการตัดพ้อและรําพึง
ถึงอารมณ์ทุกข์ใจของพระอนิรุทธ์ด้วย การย้ําคํา “โอ้” เป็นจํานวนมากถึง ๕ ครั้ง ใน
ฉันท์เพียง ๓ บท นอกจากจะเน้น ย้ําการทอดเสียงแล้ว จึงเป็นการย้ําความรู้สึกของตัว
ละครที่กําลังร่ําเพ้อละเมอหาคนรักอย่าง “ร้อนอก” ทั้งยังก่อรส สร้างอารมณ์ และนําพา
มนุษย์ผู้มีรักให้ “อกร้อน” ตามไปด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่น่าสนใจว่ามนุษย์ไม่ว่ายุคจารีตเมื่อร้อยปีก่อน หรือยุคโลก
ร้อนยิ่งกว่าเตารีดในปัจจุบันนี้ เมื่อทุกข์ใจจากรักก็พร่ําโทษเทวดา ฟ้า ฝน ด้วยกันทั้งสิ้น
ดังจะเห็นได้จากความเปรียบถึงพระกามเทพที่พระอนิรุทธ์กล่าวโทษว่าเหตุเพราะประลอง
กับพระกามเทพหรือไรใจจึงทุกข์อยู่เช่นนี้ และธรรมชาติรอบตัวที่ตามธรรมดาไม่ได้ทําร้าย
กัน ใยวันนี้จึงทําร้ายใจให้ทั้งร้อนระอุ และเสียดแทงใจจากการพรากจากเช่ เช่นนี้
เหตุว่าการอ่านวรรณคดีคือการอ่ ารอ่านชีวิตมนุษย์ แม้กาลเวลาจะก้าวเดินหนักหน่วง
อย่างเร่งวันเร่งคืนเท่าใดก็ตาม แต่อารมณ์ของมนุษย์ยังคงรักษาตัวตนอย่างเป็นเอกลักษณ์
และซับซ้อนอย่างน่าฉงน วรรณคดีเช่นอนิรุทธ์คําฉันท์จึจึงเป็นตัวแทนในการบันทึกความ
เข้าใจอารมณ์สากลของมนุษย์อันเยี่ยมยอด ความจริงอันเป็นสากลนี นสากลนี้ข้ามกาลเวลามาได้
ด้วยเพราะรังสรรค์จากกวีผู้มีผัสสะเป็นเลิศ สัมฤทธิผลนี้จึงนําพาให้ผู้เสพเข้าใจ และอ่าน
“ใจมนุษย์” อันซับซ้อนได้อย่างง่ายแต่งามเช่นนี้
๔๖ [Type text] [Type text]

อันเนื่องมาจากหน้าอกของนางประแดะ
*
เสกสันต์ ผลวัฒนะ

“สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม…”
ผู้ ที่ ศึ ก ษาหรื อ สนใจอ่ า นวรรณคดี ไ ทย
ทุกคนเมื่อเห็นหรือได้ยินคําประพันธ์ข้างต้นก็ต้อง
ทราบได้ทันทีว่า คําประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนหนึ่ง
ในบทที่ ร ะเด่ น ลัน ไดกล่ า วชมความงามของนาง
ประแดะ
ท่านที่รู้จักถุงตะเคียวก็คงนึกออกว่านม
แบบถุงตะเคียวของนางประแดะนี้เป็นอย่างไร แต่
ถ้ า นึ ก ไม่ อ อกก็ ข ออธิ บ ายความเพิ่ ม เติ ม ว่ า ถุ ง
ตะเคีย วหรือ ตะเครียวเป็นถุง ที่ถักด้ วยด้า ยหรือไหมเป็ นตาโปร่งมี หูรูด รวมกั บความ
เปรียบในวรรคต่อมา “โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม” ด้วยแล้ว คงจะนึกภาพได้
ชัดเจนว่านมของหญิงไม่โสดนางนี้จะน่าดูน่าชมหรือน่าหันหน้าหนีอย่างไร
กวีไ ทยเป็นกวีที่สันทัดในการนําสิ่งของใกล้ๆ ตัวหรือนําธรรมชาติมาใช้เป็น
ความเปรีย บ ไม่ ว่า จะเปรี ยบกับ ความรัก ความคิ ดถึ ง ความอาลัย รั ก หรือ นํา มา
เปรียบเทียบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ายได้อย่างเหมาะเจาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ
เปรียบที่เกี่ยวกับหน้าอกของตัวละครหญิงในวรรณคดีไทย การนําสิ่งของใกล้ๆ ตัวหรือ
นําธรรมชาติมาใช้เป็นความเปรียบในเวลาที่กล่าวถึงย่อมทําให้เรื่องที่ไม่ควรกล่าวในทีแ่ จ้ง
ในความรู้ สึ กของคนไทยกลายเป็ นภู มิ ปัญ ญาของกวี ไ ทยที่รู้ จั กสรรหาและสรรสร้
กสรรหาและสรรสร้ า ง
ความเปรียบได้อย่างชัดเจน

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔๗

นอกจากหน้าอกแบบถุงตะเครียวแล้ว ในวรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ ยังปรากฏ


ความเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับหน้าอกของตัวละครหญิงในลักษณะอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย
เช่น
๑. หน้าอกแบบดอกบัว ความเปรียบหน้าอกของตัวละครหญิงแบบนี้มักพบ
เสมอในวรรณคดี ไ ทย เช่ น คํ า ประพั น ธ์ “สองถั น สั ด ทั ด สั ต ตบุ ษ ย์ เพิ่ ง ผุ ด พ้ น ท่ า
ชลาสินธุ์ ขึ้นบังใบใสสดหมดมลทิน ภุมรินยังมิได้ใกล้เคียง” ที่กล่าวชมความงามของ
หน้าอกของหญิงที่เพิ่งจะเริ่มเป็นสาวอย่างพระเพื่อนพระแพงในลิลิตพระลอ การใช้
ดอกบัวมาเปรียบเทียบกับหน้าอกของตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยนี้ถึงไม่เหมือนแต่ก็
ใกล้เคียงมาก พอให้นึกจินตนาการได้ว่า เป็นหน้าอกที่มีสัณฐานและรูปลักษณะงาม
เพียงใด ถ้านึกไม่ออกก็ลองคิดตามเพลงรักกับพี่ดีแน่ที่ว่า “ตัวเนื้อเย็นผิวก็เป็นยองใย ไม่
เล็กไม่ใหญ่ขนาดพอดีพอดี”
๒. หน้าอกแบบภูเขา (ไม่ใช่แบบภูเขาไฟอย่างที่คนสมัยนี้รู้จักกัน) หน้าอก
แบบนี้บางตําราเรียกว่า “งากุญชร” เพราะมีขนาดสันทัด งอนเหมือนงาช้าง ตัวอย่างของ
หน้ า อกแบบนี้ เ ช่ น นางอรุ ณ วดี ธิ ด าท้ า วโรมพั ต ที่ ไ ปยั่ ว ทํ า ลายตบะฤาษี ก ไลโกฏใน
รามเกียรติ์ เพราะฤาษีกไลโกฏผู้ไม่เคยเห็นรูปสตรีเลย เมื่อได้เห็นหน้าอกของนางก็หลง
นึกว่าเป็นสัตว์ประหลาดมีเขาที่อก ความว่า “ไม่เคยเห็นรูปสตรี มีความสงสัยก็พิศดู
เห็นเขาติดอกครัดเคร่ง”
๓. หน้าอกแบบลูกมะพร้าว ลูกมะพร้าวในที่นี้ไม่ใช่มะพร้าวธรรมดา แต่
หมายถึงมะพร้าวนาฬิเก นมแบบนี้เมื่อสาวก็คงดูงามดังโคลงกวีโบราณที่ว่า
“นา ฬิเกฤาฟักแฟง นุชห่อ ไว้แม่
รี ปรีตูมเต้า เต่งตั้งเต็มทรวง”
แต่ถ้ายิ่งอายุมากก็ยิ่งเดือดร้อนและรําคาญมากขึ้น เพราะหน้าอกจะยานและ
ถ่วงลงมา นางหนึ่งในวรรณคดีที่น่าจะเข้าลักษณะนี้ก็คือ นางทองประศรี แม่ของ
ขุนแผน เพราะนางสามารถใช้หน้าอกของตน “ฟัดกบาลหัว” เด็กๆ ที่เข้าไปขโมยมะยม
ใหญ่ของแก ดังความว่า “ถ้าลูกใครไปเล่นแกเห็นเข้า แกจับเอานมยานฟัดกบาลหัว”
เรื่องของความเปรียบหน้าอกของนางในวรรณคดีไทยที่เสนอมานี้ เป็นเพียง
ข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ บางแง่มุมหนึ่งที่ผู้เขียนพบเห็นจากการอ่านและศึกษาวรรณคดี
๔๘ [Type text] [Type text]
ไทยเท่านั้น อย่าได้คิดในเชิงลบว่าเป็นเรื่องต้องห้ามที่ไม่ควรนํามาเผยแพร่ในที่สาธารณะ
เพราะสิ่งเหล่านี้คือชั้นเชิงแห่งกวีไ ทยที่แตกต่างกับกวีชาติอื่นๆ และเป็นเรื่องสามัญ
ธรรมดาที่แม้แต่ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยก็กล่าวถึง ดังเช่นเรื่องเพศพงศาสตรีที่กล่าวถึง
รูปและรสของหน้าอกสตรีในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นต้น หากมีโอกาส ในครั้งหน้าผู้เขียน
จะมาเล่าให้ฟังต่อว่า แล้วในทัศนะของหมอไทยแผนโบราณ รูปหน้าอกแบบใดที่จัดว่า
เป็น “เป็นเอกในสตรี คุณนมมีกล่าวมา”
๔๙

อันเนื่องมาจาก“รักนี้...คุมได้”
*
ณัฐกาญจน์ นาคนวล

ผู้เขียนเคยได้มีโอกาสฟังการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รัรักนี้...คุมได้” ซึ่ง


เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาการคุมกําเนิด
แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และบริษัทไบเออร์เชริ่งฟาร์มา
จุดมุ่งหมายของการทําโครงการก็เพื่อป้องกันปัญหา “ท้ท้องก่อนแต่ง” ของ
วัยรุ่นไทย งานนี้ผู้จัดเชิญทั้งแพทย์ นักวิชาการ และดาราวัยรุ่นมาร่วมกิจกรรมเพื่อดึงดูด
กลุ่มเป้าหมายคือ วัยรุ่น ให้มาร่วมเป็นสมาชิกหนึ่งของโครงการ ฟังข่าวนี้แล้วก็คิดถึงลูก
ศิษย์ของตัวเอง เพราะลูกศิษย์ก็เป็นวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
เปล่าค่ะ ผู้เขียนไม่ไ ด้คิดว่าจะมาชักชวนหรือสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วม
โครงการ และก็ของดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ แต่โครงการนี้มีการพูดถึงคํา
ว่า “รัก” กับคําว่า “เพศ” ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจ

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๕๐ [Type text] [Type text]
น่าสนใจเพราะประเด็นเหล่านี้ไ ด้เคยพูดคุย ถกเถียง วิพ ากษ์วิจารณ์ทั้งกับ
เพื่อนร่วมอาชีพ และนักศึกษาอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรื่อง ”รัก” และ “เพศ” ในทาง
สังคมศาสตร์
ประเด็นเรื่อง”รัก” และ “เพศ” เป็นประเด็นที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนให้ความ
สนใจ โดยเฉพาะในสังคมไทยปัจจุบันที่มีความหลากหลายทางเพศ จริงอยู่หากแบ่งเพศ
ตามสรีระหรือ sex อาจจะแบ่งได้แค่เพศชายกับเพศหญิง แต่หากแบ่งตามกรอบสภาวะ
ทางสังคม ที่เรียกว่าเพศสภาวะหรือ gender ณ ปัจจุบันมีทั้งที่ เป็นชาย เป็นหญิง ไม่เป็น
ชาย และไม่เป็นหญิง ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ความสัมพันธ์และความรัก
ระหว่างเพศที่หลากหลายปรากฏผ่านสื่อทั้งในรูปแบบของข่าว เรื่องเล่าในอินเทอร์เน็ต
ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมถึงการปรากฏในวรรณกรรมด้วย
ในฐานะของอาจารย์ผู้สอนวิชาวรรณกรรม ผู้เขียนได้เคยพูดคุยและถกเถียงกับ
นักศึกษาในรายวิชาสัมมนาภาษาไทย ในประเด็นที่เกี่ยวกับเพศสภาวะในสังคมไทยโดย
พิจารณาจาก”ภาพ”ที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมไทย การพูดคุยและถกเถียงนํามาสู่การ
วิพากษ์วิจารณ์ และถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า “รัก”
และ “เพศ” มีประเด็นวิพากษ์ได้หลากมุมมอง ทั้งยังสะท้อนปรากฏการณ์บางอย่างทาง
สังคม อาทิเช่น พื้นที่ที่ไม่ถูกจํากัดแค่ “หญิง” กับ “ชาย” ตามเพศสรีระ รูปแบบ
ความสัมพันธ์ทางเพศที่เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ปรากฏการณ์เหล่านี้
กําลังเพิ่มมากขึ้นในสังคมจริง
การศึกษาเรื่อง ภาพสะท้อน “หญิงรักหญิง”ในนวนิยาย “ดอกไม้เปลี่ยนสี”
ของมน.มีนา ของชุติมณฑน์ เช้าเจริญ บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้ศึกษาภาพสะท้อน
ชีวิตหญิงรักหญิงในนวนิยายเรื่องดอกไม้เปลี่ยนสีของมน.มีนา ฉบับพิมพ์ครั้งแรก เดือน
มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เพื่อแสดงให้เห็นภาพสะท้อนด้านทัศนคติของตัวละครและทัศนคติ
ของผู้แต่งที่มีต่อพฤติกรรมหญิงรักหญิง ผลการศึกษาพบว่านวนิยายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็น
ว่าทัศนคติในเรื่องเพศของคนในสังคมไทยมาจากบรรทัดฐานรักต่างเพศเป็นตัวกําหนด
ส่งผลให้กลุ่มหญิงรักหญิงถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติและเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน
ทางเพศที่สังคมไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งทัศนคติดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้ผู้ที่มี
พฤติกรรมหญิงรักหญิงเกิดแรงกดดันจนไม่กล้าเปิดเผยตัวเอง
๕๑

การศึกษาของชุติมณฑน์ทําให้เห็นความพยายามในการสร้างพื้นที่ของ”หญิง
รักหญิง” โดยนําเสนอในรูปแบบของวรรณกรรม ซึ่งปรากฏให้เห็นไม่บ่อยนัก และใน
ขณะเดียวกันกลุ่ม
”ชายรักชาย” ซึ่งได้เคยสร้างพื้นที่ไว้ก่อนหน้านี้แล้วก็ยังคงตอกย้ําพื้นที่ของกลุ่มตนเอง
ผ่านงานวรรณกรรมอย่างสม่ําเสมอ ดังตัวอย่างจากการศึกษาของสุธิดาวดี ศรีมณฑก
บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ที่ได้ศึกษาภาพสะท้อน “ชายรักร่วมเพศ” ในนวนิยายเรื่อง
สุดปลายสะพาน ของสุริศร วัฒนอุดมศิลป์ ผลของการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่องนี้
สะท้อนชีวิตชายรักร่วมเพศให้ผู้อ่านเห็นว่าชายรักร่วมเพศไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวตลกที่ไร้
มารยาทหรือมักมากในกามเท่านั้น ผู้แต่งใช้ตัวละครชายรักร่วมเพศเป็นตัวละครหลัก
ในการนําเสนอ และเลือกนําเสนอผ่านมุมมองของความรักที่มั่นคง และยึดมั่นในความดี
โครงเรื่องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของชายสองคนที่ถักทอขึ้นท่ามกลางปมปัญหา
มากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้ตัว
ละครชายเกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศ ตัวละครที่เป็นชายรักร่วมเพศสามารถถ่ายทอด
ความรักที่อบอุ่น สวยงาม ท่ามกลางสังคมที่ยังมองว่ารักร่วมเพศเป็นเรื่องผิดปรกติได้
อย่างน่าประทับใจ
การสร้างพื้นที่ข องกลุ่ม “รั กร่ว มเพศ” แสดงให้ เห็น ว่า ทั ศนคติของคนใน
สั ง คมไทยยั ง คงมองความไม่ เ ป็ น ชาย ความไม่ เ ป็ น หญิ ง อย่ า งอคติ และตั ด สิ น ว่ า
ความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเป็นความผิดปรกติ การแสดงพฤติกรรม “นอกกรอบ” ที่
สังคมกําหนดแล้วถูกตัดสินว่า “ผิด” มิได้เกิดเฉพาะกลุ่มคนรักร่วมเพศ หากเมื่อมีการ
สร้างสัมพันธ์ระหว่างเพศด้วยการเดินข้ามกรอบ “ความเป็นหญิงเป็นชายที่ดี” ตามที่
สังคมกําหนดแล้ว ก็จะถูกตัดสินว่า “ผิด” เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่นพฤติกรรมทางเพศที่สะท้อนระบบคิดการแยกเรื่อง “รัก” กับ
เรื่ อ ง “ความสั ม พั น ธ์ ท างเพศ” ว่ า เป็ น คนละเรื่ อ งเดี ย วกั น ที่ ถู ก นํ า มาถ่ า ยทอดผ่ า น
วรรณกรรมซึ่งหากมองไปถึงโครงสร้างทางสังคม ก็อาจพบว่านี่คือผลพวงของความล่ม
สลายของสถาบัน ครอบครัว ดังที่ พิมทิตา พลสุวัตถิ์ บัณฑิตสาขาวิช าภาษาไทย ได้
ศึก ษานวนิ ย ายเรื่ อ ง มุ ม ปากโลก ของอั ญ ชั น ในประเด็ น บทบาทครอบครั ว ที่ มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมและค่านิยมทางเพศของตัวละครเอก โดยศึกษาจากนวนิยาย
๕๒ [Type text] [Type text]
เรื่อง มุมปากโลก ฉบับปรับปรุงตีพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐ ผลการศึกษาพบว่าบทบาท
ครอบครัวเป็นส่วนสําคัญที่จะทําให้เด็กมีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้นๆ จากการศึกษา
พบว่าพฤติกรรมและค่านิยมทางเพศที่ผิดไปจากมาตรฐานทางสังคมของตัวละคร “เอิง”
เกิดจากสภาพครอบครัวที่แตกแยกตั้งแต่ยังเด็ก การขาดความรัก ความอบอุ่น
และความเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว การขาดการอบรมสั่งสอนชี้แนะแนวทางการ
ดําเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง อีกทั้งเอิงยังได้เห็นพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรงและวิตถาร
ของผู้เป็นแม่ ซึ่งพฤติกรรมที่แม่ประพฤตินั้นส่งผลให้ตัวละครใช้เป็นแบบอย่าง ทําให้
ดําเนิน ชีวิ ตผิ ดไปจากมาตรฐานทางสัง คม โดยตัว ละครเอิ งได้แ สดงพฤติ กรรมและ
ค่ า นิ ย มทางเพศที่ นิ ย มใช้ ค วามรุ น แรงออกมาให้ เ ห็ น ผ่ า นบทสนทนา พฤติ ก รรม
ความคิด ความรู้สึก และความฝัน เอิงเป็นคนที่ไม่เชื่อมั่นในความรักและแสดงออก
ด้วยการมีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายมากหน้าหลายตา
จากตัวอย่างผลงานของนักศึกษา ทําให้เห็นว่าเรื่อง “รัก” และ “เพศ” ยังคง
เป็นประเด็นที่น่าสนใจสําหรับสังคมไทย
“รัก” และ “เพศ” มีความหลากหลายให้ได้พิจารณาอย่างหลากมุมมอง และ
ควรพิจารณาควบคู่ไปกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ภาพสะท้อนที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมอาจมิใช่เรื่องจริงทั้งหมด แต่ก็คงจะไม่มีใครกล้า
ปฏิเสธว่านี่คือภาพจําลองที่มีอยู่จริง
หากได้เปิดตาเปิดใจให้กว้างกว่าที่เคย ก็จะพบว่าเรื่อง “รัก” และ “เพศ” ใน
สังคมไทยได้ก้าวข้ามกรอบของเพศสรีระ และข้ามกรอบที่เรียกว่า”ศีลธรรม” มาไกล
มาก จนกลายเป็นปรากฏการณ์ “รักนี้...คุมไม่ได้”
และแม้แต่เรื่อง “ท้องก่อนแต่ง” ก็อาจกลายเป็นเรื่อง “จิ๊บๆ” ไป
๕๓

หกทศวรรษวิถีชีวิตริมแม่น้ํานครชัยศรี
*
เขมฤทัย บุญวรรณ

สายน้ําไหลไป...ย่อมไม่มีวันไหลกลับ
เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ําสายหนึ่ง ที่ไม่มีทางหวนคืนกลับไปเป็น
ดังเช่นวันคืนก่อนเก่าได้ ๖๐ ปี ที่ผ่านมานี้ คนที่ผูกพันกับแม่น้ําสายนี้มาตลอดทั้งชีวิต
ย่อมเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
แม่น้ําหนึ่งสาย ที่ไหลหล่อเลี้ยงผู้คนตามชุมชนชายน้ําตามจังหวัดต่างๆ ในภาค
กลาง แม่น้ําสายเดียวที่มีชื่อเรียกหลากหลายตามสถานที่ไหลผ่าน นับตั้งแต่มาจากต้นน้ํา
ในจังหวัดชัยนาท ผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า แม่น้ํามะขามเฒ่า ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี
เรียกว่า แม่น้ําสุพรรณบุรี ผ่านจังหวัดนครปฐม เรียกว่า แม่น้ํานครชัยศรี ก่อนจะผ่าน
จังหวัดสมุทรสาครไหลลงสู่อ่าวไทยในชื่อ แม่น้ําท่าจีน
ย้อนกลับไปเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว ชีวิตและอาชีพของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ํานครชัยศรี
คือ การทําประมง เพราะบริเวณนี้กุ้งและปลาชุมมาก อุดมสมบูรณ์ขนาดไหน คนเก่า
คนแก่เล่าให้ฟังว่าขนาดพายเรือผ่านฝูงปลา (ปลาสร้อย) ปลายังกระโดดเข้าเรือได้...คิดดู
แล้วกัน
ปลาที่ พ บเห็ น ในลํ า น้ํ า นี้ มี ทั้ ง ปลาตะเพี ย น ปลาซิ ว ปลาท้ อ งพุ ปลา
หนวดพรามณ์ ปลาลิ้นหมา ปลากระแหทอง ปลาแขยง ปลาแป้น ปลาหมู ปลาแปบ
ปลาหางกิ่ว (ปลาม้า ) ปลาชะโด ปลาช่อน ปลาหมอ ฯลฯ ปลาบางชนิดปั จจุบั น
แทบจะไม่เหลือให้เห็นแล้ว ยิ่งพอประมาณเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม น้ําในแม่น้ํานี้
จะเป็นน้ํากร่อย เนื่องจากมีน้ําทะเลหนุน จึงทําให้มีปลาทะเลบางชนิดที่ไม่คิดว่าน่าจะพบ
ในแม่น้ํานี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นปลาดุกทะเล ปลากระเบน หรือแม้กระทั่งแมงกะพรุน!!!
ในสมัยก่อนการจับสัตว์น้ํานั้นไม่ใช่ใครนึกอยากจะจับก็จับได้ แต่ต้องมีการ
แจ้ ง หลวงก่อ น และต้ องเสี ยค่ า น้ํา หรื อเสี ย ภาษี เพื่ อ เป็ น การขออนุ ญ าตจั บ สัต ว์ น้ํ า

*
อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๕๔ [Type text] [Type text]
ในกรณีที่ใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ําขนาดใหญ่ แต่ถ้าทอดแหหรือใช้เบ็ดตกนั้นไม่ต้องแจ้ง
ส่วนในช่วงที่ปลาวางไข่ คือ ช่วงฤดูฝนนั้นห้ามจับปลา
วิธีการจับสัตว์น้ําอย่างหนึ่งที่มีในแม่น้ํานี้ คือ การกางโพงพางเพื่อจับกุ้งตะเข็บ
และปลา กางกันกลางแม่น้ํานี่แหละ..มีเสา ๓ ต้นปักไว้กลางน้ํา ลักษณะของโพงพางเป็น
อวนลักษณะเป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ตรงปากตาข่ายห่างและช่วงปลายตาข่ายจะเล็ก
กางตอนน้ําลง และต้องกางช่วงบ่าย พอตกกลางคืนก็ต้องตามไฟ(จุดไฟ) ที่เสาที่กาง
โพงพางกันเรือไม่ให้ชนเสา เวลากางใช้เรือกู้อวน ซึ่งมี ๒ ลํา คือ เรือฉลอมเป็นเรือลํา
ใหญ่จะจอดขวางไว้กลางน้ํา และเรือท้ายม้าคล้ายเรือแจว เมื่อกางโพงพางเสร็จแล้ว
ก็ต้องนําอวนมาตากที่บั้งแป๊ซึ่งเป็นที่สําหรับตากอวน
วิธีจับปลาอีกชนิดหนึ่ง คือ การตกปลาหมอ ตกเพื่อนํามาทําเป็นที่ล่อปลาช่อน
วิธีคือนําปลาหมอมาขังไว้ให้เปรียว ผอมหัวโตเวลาเกี่ยวเบ็ดจะเกี่ยวให้ทะลุหลังใต้ครีบ
หลังปลา ปลาจะว่ายพอปลาช่อนเห็นจะว่ายมาหาเหยื่อ ถ้าตกตามชายเฟือยจะเกี่ยว
ที่ใต้ปากและเกี่ยวที่หางด้วย ไม่ให้หางฉีกออกไปติดกับหญ้าลําเอียก เบ็ดตกปลาช่อนจะ
ยาวกว่าเบ็ดทั่วไป เพราะที่ตกนั้นเป็นหญ้าซึ่งหนาและสูงจึงต้องใช้เบ็ดที่ยาวกว่าเบ็ด
ตกปลาทั่วไป
ยังมีการจับสัตว์น้ําอีกอย่าง คือ การอ่อยเหยื่อ ไว้จับกุ้ง วิธีการอ่อยเหยื่อก็นํา
ดินมาปั้นก้อนขนาดขนมตาควายหรือขนมต้มแล้วคลุกกับรําข้าว ที่คลุกกับรําข้าวเพราะ
รําข้าวมีกลิ่นหอม ก้อนดินนี้ไว้ล่อกุ้งตะเข็บและกุ้งใหญ่ วิธีจับก็ใช้แหทอดเอา อย่างกุ้ง
ตะเข็บ วางเหยื่อที่เตรียมไว้จุดละ ๕ ลูก ประมาณ ๑๕-๒๐ จุด พออ่อยจนถึงจุดสุดท้าย
ก็กลับมาทอดที่จุดแรก สามารถทิ้ งช่วงได้ และอ่อยเหยื่อซ้ํ าที่เดิ มก็ไ ด้ ส่วนกุ้งใหญ่
โยนเหยื่อที่เตรียมไว้จุดละลูก ประมาณ ๑๒ จุด พอโยนถึงจุดสุดท้ายต้องรีบมาทอด
จุดแรกที่อ่อยไว้ เพราะกุ้งใหญ่กินเร็วมากไม่เหมือนกับกุ้งตะเข็บที่สามารถทิ้งช่วงเวลาได้
จุดไหนดีอาจได้มากกว่า ๑ ตัว ก็ให้โยนซ้ําแล้วกลับมาทอดใหม่ได้อีกรอบ
นอกจากวิธีการอ่อยเหยื่อแล้วจะใช้วิธีตกกุ้งก็ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าคนตกกุ้งมือ
ต้องนิ่มเบามาก อาจเป็นเพราะเบ็ดที่ใช้ตกกุ้งเป็นเบ็ดมีลักษณะเข็มเหมือนไม่มีเงี่ยง พอ
กุ้งกินเบ็ด ถ้ามือไม่เบากุ้งจะหลุดจากเบ็ด
๕๕

บางช่วงอาจมีกุ้งขึ้นมาให้จับได้ตามริมตลิ่งหรือว่ายอยู่ในน้ํา เรียกว่า หน้ากุ้ง


มัว มีช่วงหน้าน้ําลด กุ้งมัวเป็นยังไง ก็เกิดจากน้ําเน่าที่มาจากท้องนาแล้วไหลลงในแม่น้ํา
พอน้ําเน่ามารวมกับน้ําที่ไหลขึ้น(น้ําดี) กุ้งก็จะเมา แล้วขึ้นมาให้จับ
ในสมัยนั้น กุ้งและปลาที่จับได้ขายกันไม่แพงมาก อย่างกุ้งตะเข็บที่ได้ก็จะขาย
สด ขายกันเป็นกองกองละ ๖ สลึง (กองละประมาณ ๑ ขีด) หรือโลละ ๑๕ บาท และ
เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่คนซื้อคนขายก็จะนํากุ้งที่จับได้มาต้มเป็นกุ้งต้มเค็ม
ขาย ขายเป็นกองกองละ ๒-๓ บาท ส่วนปลาที่ได้ขายสดโลละ ๓ บาท
นอกจากจั บกุ้ งและปลาเพื่ อค้ าขายแล้ ว ยั งมี การช้ อนลู กกุ้ งช่ วงหน้ าน้ํ าลด
ตามชายตลิ่งไว้ทํากะปิ กะปิทําง่าย ๆ ใช้กุ้ งตํากับเกลือเม็ดที่นํามาตํ าให้ละเอียด ที่ซื้ อ
เป็นถังถังละ ๑๐ สลึง (๑ ถัง ๒๐ ลิตร) พอ ตําเสร็จก็นํามาใส่ตะแกรงถี่ ๆ ให้น้ํากุ้งตก
แล้วตากแดด โรยเกลือ ประมาณ ๒ วัน เอามาตําอีกแล้วตากแดดจนหมาดจึงปั้นให้เป็น
ก้อนกลม ๆ ตากแดดอีกจนแห้ง ก็จะได้กะปิหอมกรุ่น
นี่คือความอุดสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแม่น้ําสายนี้
เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้วที่สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของคนริมลําน้ําสายนี้ได้ช่วงเวลาหนึ่ง
แต่มาบัดนี้ความอุดมสมบูรณ์แทบไม่หลงเหลือปรากฏให้เห็นอย่างเช่นเคย....
เวลาผ่านมา ๑๐ ปี...๒๐ ปี...๓๐ ปี...๔๐ ปี...๕๐ ปี...๖๐ ปี
วิถีชีวิตของคนริมลําน้ํานครชัยศรีวันนี้ ยังคงผูกพันกับสายน้ํา..และใช้ชีวิตอยู่
กับน้ํา ไม่ว่าน้ําขึ้น น้ําลง น้ําเท้อ (ช่วงที่น้ําหยุดไหลชั่วขณะ เพราะเกิดจากการเปลี่ยน
ของระดับน้ํา) น้ําหลาก น้ําเกิด (มีน้ําขึ้นมากกว่าปกติ) น้ํานอนคลอง น้ํานองตลิ่ง น้ําทรง
ความเจริญที่ไหลหลากมา อาจจะพัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ในวันวานให้ไหล
ผ่านพ้นพ้นไปจากความรับรู้และความคุ้นชินของผู้คน แต่วิถีชีวิตก็ยังคงดําเนินต่อไป
ถึงแม้ว่าวันนี้ การทําประมงแบบดั้งเดิมริมแม่น้ํานครชัยศรีจะแทบไม่มีเหลือให้เห็นอีกแล้ว
ชีวิตของคนริมลําแม่น้ํานครชัยศรี ก็ยังคงดําเนินต่อไป หากแต่เปลี่ยนแปลง
ไปสู่วิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลกและสังคม.......
เช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงแห่งสายน้ํา
๕๖ [Type text] [Type text]
๕๗

ต่อกลอน
สายป่าน ปุริวรรณชนะ

กระทู้ถามสมัย
ด้วยคารวะแด่ครูกวี “ศรีปราชญ์ และอังคาร กัลยาณพงศ์
ทะ ลุปะทุไหม้ ใจคน
ลุ่ม ล่มจมจ่อมมล หมดแล้ว
ปุ่ม ใจเปื่อยใจจน เหลวเปล่า
ปู กีท่ างธรรมแก้ว กลับร้างใจไป
ทุ เรศเทวษไร้ รมณีย์
สุ วภาพฉาบชีวี ว่างร้าง
มุ ใจใคร่จักมี ทรัพย์มาก
ดุ เดือดแดกระด้าง ดั่งให้ฉิบหาย
อุ บายอุบาทว์บ้า สารพัด
สา เหตุเห็นอยู่ชัด ชั่วช้า
นา นาวิบัติขัด เข็ญขุก
รี ร่ําน้ําตาฟ้า พ่ายน้ําตาคน
โก ลาหลอยู่ทั้ง ทศทิศ
วา หนึ่งก็สารพิษ เพียบแปล้
ปา ปะประพฤติผิด พาลพลาด
เปิด ก็เห็นเนื้อแท้ ทาสฤทธิ์ตฤษณา
จก ใจหาแก่นน้ํา ใจตน
จี้ จัดขัดเกลาจน แจ่มแจ้ง
รี้ ร่ําคร่ําครวญคน หายขาด
ไร จักตายเปล่าแล้ง อาจรู้นฤพาน
๕๘ [Type text] [Type text]
โองการแช่งชัก

โอม อัญเชิญทวยเทวดา เรืองฤทธิ์มหิทธา


เชิญมาลงทัณฑ์อันธพาล
โอม องค์อิศวรทรงญาณ ลืมเนตรสามผลาญ
เผ่าพันธุ์จัญไรให้สูญ
โอม พระนารายณ์จํารูญ ตื่นผทมไวกูณฑ์
มล้างดั่งล้างอสุรพงศ์
โอม ท้าวไท้ครรไลหงส์ สี่พักตร์พระทรง
ส่องชั่วกลัวจับจิตตาย
เดชะพระเพลิงเริงพราย แผดพิษเผากาย
ลวกร้อนห่อนได้อยู่ดี
เดชะธุรคาเทวี บั่นเกล้าเกศี
สูบโลหิตเป็นภักษา
เดชะพระยมเทวา ลากมันลงมา
ทรมานคว้านแขวะแหวะทรวง
ผีดงผีด้ําทั้งปวง ผีเล็กผีหลวง
ผีห่าผีเหวเร็วแรง
บรรดาผีสางคางแดง พิโรธโกรธแกล้ง
หลอนหลอกแลเอาชีวิต
มันผู้ใดทําความผิด ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จงอย่าได้ไว้แก่มัน
ให้ทุกข์ถึงสิ้นชีวัน เวรกรรมตามทัน
วายวอดจอดจตุราบาย
ด้วยมันทําผิดคิดร้าย เอาชาติไว้ขาย
จงพ่ายแพ้แก่ฟ้าดิน
๕๙

อัศจรรย์

ก่อนฟ้าผ่าซ่านสะท้านร่าง เคลิ้มคล้อยลอยคว้างอย่างความฝัน
ร้อนเร่าเท่าแสงแห่งเที่ยงวัน เยือกเย็นเช่นจันทร์อันอําไพ
สุมามาลย์หวานฉ่ําหวามน้ําฝน พอต้องมนตร์ชลชื้นก็ชื่นไหว
หลอมรวมสุคันธาลัย แห่งดอกไม้ทั้งมวลเป็นส่วนเดียว
ประคองคลอทอรุ้งปรุงสวรรค์ ลืมคืนลืมวันไว้ประเดี๋ยว
ปล่อยรักถักทอก่อเป็นเกลียว เกาะเกี่ยว กาย-ใจ-จักรวาล
เกิดแสงสว่างขาวของดาวตก สู่อกแผ่นดินถิ่นสถาน
วิถีธรรมดาอยู่ช้านาน ดําเนินผ่านสัมผัส...อัศจรรย์

สร้อยสุรินทราหู

“น้องเป็นหญิงยากจริงจะให้เห็น” จําเยือกเย็นเร้นรักจําหักหาย
เก็บอารมณ์ข่มคําสํารวมกาย แม้รักชายเฉยเชือนเหมือนไม่รัก
“พ่อก็เป็นชายเลิศประเสริฐศรี” จึงรักนี้สุดจิตจะคิดหัก
แม้พ่อไม่พูดจาว่ารักนัก ใครเขาจักเผยใจให้เห็นจริง
“หากตัวน้องเป็นชาย ตัวพ่อพลายเป็นสตรี” คงเป็นที่รู้ซึ้งถึงใจหญิง
รู้ว่ารักไม่บอกรักจักไม่ติง น้องต้องนิ่งเพียงไหนเมื่อใกล้กัน
“ค่ําค่ํานี้จะไปแนบให้หนําใจ” แนบสนิทชิดใกล้ที่ในฝัน
แต่ลืมตาตื่นสะทกอกใจตัน ระวังหวั่นเกรงจะรู้อยู่ทุกที
“น้องเป็นหญิงยากจริงจะให้เห็น พ่อก็เป็นชายเลิศประเสริฐศรี
หากตัวน้องเป็นชาย ตัวพ่อพลายเป็นสตรี ค่ําค่ํานี้จะไปแนบให้หนําใจ”
(ข้อความใน “...” ตัดมาจากบทร้องเพลงสุรินทราหูเถา)
๖๐ [Type text] [Type text]
แก้วไร้ค่า

โอ้อกอนิจจาน่าอนาถ ที่หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า
กลับจะกลายเกลือกดินสิ้นราคา สิ้นอาภาผ่องแผ้วแก้วมณี
ไม่ใช่ “แก้วแวววับที่จับจิต” ไม่ต้อง “คิคิดอาจเอื้อม”
ม ก็ถึงที่
แม้ “ไม่เอื้อม” แต่ก็ “ได้อย่างไรมี” แก้วมณีนี้แหละ “โลดมาถึ
โลดมาถึงมือ”
“อันของสูงแม้ปองต้องจิต หากไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ”
แต่นี่ “ของตลาดที่อาจซื้อ” จึง “แย่งยื้อถือได้” ดังใจจง
เมื่อไม่รักศักดิ์สงวนก็ควรแล้ว ควรที่แก้วกร่อนร้าวเป็นเผ้าผง
หรือไม่ใช่...แก้วมณี...พิสุทธิ์ทรง เป็น...ดอกแก้ว...โรยลงคงเหลื
โรยลงคงเหลืองทอง

(ข้อความใน “....” ตัดตอนมาจากบทละครเรื่องท้าวแสนปม


พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๖๑

เรื่องสั้น >> เ ห รี ย ญ ส อ ง ด้ า น

เรื่อง >> พิมทิตา พลสุวัตถิ์

ณ ห้องสีขาว
“ไม่....” ฉันตื่นขึ้นมาจากฝันร้าย ฉันเหงื่อแตก หน้าซีด ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
“นี่มันเกิดอะไรขึ้น....แล้วฉันมาอยู่ห้องนี้ได้อ ย่างไง” กึกกึกกึก...ฉันเขย่า
ลูกกรงเต็มแรง “ต้องมีการเข้าใจอะไรผิดแน่ๆ” เสียงฉันแหบและสั่นเครือ เพราะไม่รู้ว่า
เกิดอะไรขึ้น
แล้วสามีฉัน.....สามีฉันอยู่ที่ไหน แล้วเขาจะรู้ไหมว่าฉันอยู่ที่นี่.......ฉันพยายาม
ไล่เรียงความคิดภายในสมอง ใช่แล้ว....เมื่อคืนนี้เรากําลังคุยกันในห้องครัว เขาบอกฉัน
ว่าจะขอหย่า...ฉันเริ่มสะอื้น เขาหาว่าฉันไม่มีเวลาให้ ก็ฉันเป็นหมอนะ ต้องดูแลคนไข้
จะให้มีเวลาอยู่กับเขาทั้งวันทั้งคืนได้อย่างไง ทําไมเขาถึงไม่เข้าใจ เอ๊ะ!! หรือว่า....เขา
เป็นคนจับฉันมาอยู่ในนี้...เหงื่อเม็ดโตผุดไปทั่วหน้า
“ไม่....” ฉันตะโกนลั่น
“ถึงเขาจะเป็นตํารวจ เขาจะมาทํากับฉันอย่างนี้ไม่ได้” ฉันโกรธจนปากสั่น
…………………………………………………………………………………………
บุรุษพยาบาลนายหนึ่งเดินเข้ามาไขกุญแจห้อง
“เชิญคุณหมอทิพย์...ตามผมมาครับ”
“เขาคงสํานึกผิดแล้วใช่ไหมล่ะ...ฉันรู้”
“ถึงอย่างไรเขาก็ขาดฉันไม่ได้” ฉันเดินตามบุรุษพยาบาลคนนั้นเข้าไปในห้อง
หนึ่ง ซึ่งเป็นห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่กว้างมาก ตรงกลางห้องมีเก้าอี้สองตัวหันหน้าชนกัน
บุรุษพยาบาลคนเดิมเปิดประตูเดินออกไป พร้อมกับเสียงล็อกกุญแจจากด้านนอก
ท่ามกลางแสงไฟสลัวๆ ฉันนั่งทบทวนไปมากับเรื่องราวทีเ่ กิดขึ้น ทั้งโกรธทั้ง
แค้นที่ถกู สามีตวั เองหลอกและทรยศได้ขนาดนี้ ฉันยังจําภาพนั้นได้ เขาตะคอกใส่ฉัน


นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รุ่น ๑)
๖๒ [Type text] [Type text]
เราทะเลาะกันรุนแรง “ใช่แล้ว...เขาผลักฉันล้มจนหัวไปชนกับมุมโต๊ะกินข้าว จากนั้น
...จากนั้น......โอ๊ย...ทําไมฉันจําไม่ได้” ฉันปวดหัวจนแทบจะระเบิด
…………………………………………………………………………………………

แอ๊ด.....เสียงประตูเปิดขึ้น
ชายอายุราว ๔๐ เศษๆ เดินเข้ามาด้วยท่าทีสุภาพ เขาเลื่อนเก้าอี้มานั่งอยู่ตรง
ข้าม และยกมือขึ้นปาดเหงื่อที่ชุ่มทั่วหน้าผาก จากแสงไฟนีออนสีส้มอ่อนที่กําลังสาด
ส่องอยู่ระหว่างฉันกับเขา ก็พอจะทําให้มองเห็นริ้วรอยที่กร้านโลกของเขาได้อย่างชัดเจน
“ผมคือหมอสุชัย เป็นหมอจิตเวชประจําโรงพยาบาล เขาให้ผมมาช่วย
จัดการในเรื่องนี้ ก่อนอื่นคุณหมอทิพย์ทําใจให้สบายก่อนนะครับ ผมเข้าใจว่าอาชีพ
อย่างพวกเรามันอาจจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นได้” เขาขยับแว่นให้กระชับขึ้น
“คุณหมอต้ องเข้าใจนะครับ ว่ าการกระทํ าของคุณหมอเช่นนี้มันเข้าข่าย
โรค Schizophrenia ซึ่งอาการของโรคนี้ คุณหมอเองน่าจะทราบดีว่ามันเป็นอย่างไร”
“อะ....อะไรนะ บ้ากันไปใหญ่แล้ว มันไม่เป็นความจริง ฉันไม่ได้เป็นอย่างนั้น”
ฉันระเบิดเสียงออกมาด้วยความแค้น “พวกคุณโกหก สามีฉันสั่งให้พวกคุณมาหลอก
ฉันใช่ไหม คุณเป็นหมอที่ไร้จรรยาบรรณ ทําไมคุณถึงไปช่วยสามีฉัน คุณกลัวพวก
เขาเหรอ” ใบหน้าของฉันเริ่มแดงก่ํา ตาข้างซ้ายเริ่มขยิบถี่ขึ้น
“ใจเย็นๆก่อนครับ”
“จะให้ฉันใจยงใจเย็นได้อย่างไง ฉันถูกใส่ร้ายขนาดนี้”
“แต่ผลการชัน สูตรออกมาแล้วนะครับ” เขายกมือขึ้น มาปาดเหงื่ อที่ไ หล
ออกมาอย่างไม่หยุด
“ตามร่างกายของผู้ตายมีรอยเล็บที่เกิดจากการขีดข่วนอย่างรุนแรงไปทั่วร่าง
จนทําให้สภาพผิวหนังของเขาหลุดยุ่ยออกมาไม่เป็นชิ้นดี และยิ่งไปกว่านั้นทางตํารวจยัง
ได้พบรอยนิ้วมือของคุณบนมีดขนาด ๘ นิ้ว ที่ใช้เป็นอาวุธสับหน้าสามีของคุณ”
เชือกที่ขมวดเกลียวพลันขาดผึง ความอดทนอดกลั้นได้สิ้นสุดลง ไม่มีความ
ยุติธรรมบนโลกนี้แล้ว บัดนี้ความเสียใจได้แปรเปลี่ยนเป็นความโกรธที่พร้อมจะระเบิดได้
ทุกเมื่อ ....ร่างกายของฉันเริ่มสั่นระริก......
๖๓

“เห็ น อยู่ ชั ด ๆว่ า ฉั น ถู ก สามี ก ลั่ น แกล้ ง มั น อยากจะหย่ า กั บ ฉั น มั น จึ ง ทํ า


ทุกวิถีทางที่จะกําจัดฉันออกไปจากชีวิตของมัน มันทําลายทั้งชื่อเสียงและชีวิตของฉันจน
ป่นปี้ เพื่อที่มัน...จะได้ไปเสพสุขกับอีนังคนอื่น” ฉันตะโกนออกมาอย่างคลุ้มคลั่ง
“ฉันไม่เ หลือ อะไรแล้ว ฉั นอยากตาย” ฉันวิ่ งเอาหั วโขกกํา แพงซ้ําแล้ว....
ซ้ําเล่า....ซ้ําแล้ว...ซ้ําเล่า เลือดอุ่นๆได้ไหลย้อยจากหน้าผาก ยิ่งโขกแรงเท่าไร ฉันก็ยิ่งรู้สึก
สะใจ ฉันไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด
“ขังฉันไว้ทําไม ปล่อยฉัน ปล่อยฉัน” เลือดสีแดงเข้มไหลออกมาอย่างไม่
ขาดสาย หมอสุชัยพยายามเข้ามาล็อกตัวฉัน แต่ฉันไม่ยอม ฉันพยายามสะบัดตัวเขา
ออกไป กลิ่นคาวเลือดคละคลุ้งยิ่งกระตุ้นให้ฉันทําแรงขึ้น....แรงขึ้น ฉันได้ยินแต่เสียง
กึก..กึก ของกะโหลกศีรษะที่กําลังแตกเท่านั้น
ฉันรู้สึกตัวอีกครั้ง เมื่อเห็นหมอสุชัยนอนนิ่งจมกองเลือดอยู่กับพื้น ตรงหน้า
ผากของเขาเปิดแหวะออก แลเห็นกะโหลกศีรษะสีขาวโพลนได้อย่างชัดเจน ภายใน
กะโหลกศีรษะยุบบุ๋มแตกไม่เป็นรูป มีเศษชิ้นเนื้อที่เละยุ่ยกระจัดกระจายอยู่โดยรอบ
ทั่วทั้งใบหน้าของเขาเต็มไปด้วยเลือดสีแดงฉาน แว่นตาแตกละเอียดหักไม่มีชิ้นดี
ฉันกรีดร้องลั่นด้วยความตกใจ!!
…………………………………………………………………………………………
“ไม่....” ฉันตื่นขึ้นมาจากฝันร้าย เหงื่อเม็ดโตซึมทั่วร่างกาย
“นี่มันเกิดอะไรขึ้น....แล้วฉันมาอยู่ห้องนี้ได้อย่างไง” กึกกึกกึก... ฉันเขย่า
ลูกกรงเต็มแรง “ต้องมีการเข้าใจอะไรผิดแน่ๆ” เสียงฉันแหบและสั่นเครือ เพราะไม่รู้ว่า
เกิดอะไรขึ้น
๖๔ [Type text] [Type text]

กวีวัจนะ “ภาษาไทย”

ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

โคลงสี่สุภาพ
๏ เลอลักษณ์ศิลป์ปิ่นหล้า ยาวนาน
สิ่งสื่อศักดิ์วญ
ิ ญาณ หนึ่งแท้
ภาษาแห่งวงศ์วาน สืบต่อ
ล้ําค่าทุกพจน์แม้ เปลี่ยนบ้าง ตามสมัย
อินทรวิเชียรฉันท์
๏ งามแท้กระแสเสียง สุตเพียงวลีไทย
ซ่านสู่อณูใจ ดลสุขสยามพงษ์
กาพย์ฉบัง ๑๖
๏ ลายสือล้าํ ค่าสูงส่ง จดจําดํารง
ศิลป์ศาสตร์แห่งชาติภาษา
กลอนสุภาพ
๏ เพียงเอ่ยเสียงสําเนียงชาติเกิดปรากฏ
ทุกถ้อยพจน์ประทับย้ําความล้ําค่า
พูดอ่านเขียนอย่างถูกหลักอักษรา
ย่อมนําพา...ภาษางาม...ความภูมิใจ...


นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รุ่น ๒)
thaicover copy.pdf 1 20/9/2553 12:03:33

CM

MY

CY

CMY

Anda mungkin juga menyukai