Anda di halaman 1dari 6

บทที่ 1

บทนํา

1.1 หลักการและเหตุผล
รายงานการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการกําลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,
สกศ., 2549) และรายงานวิจัยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในสาขาเครื่องจักรกล (วิรัช
อยู่ชา, สุรเชฐ สิทธิกิจ และทานตวรรณ เต็กชื่น, 2554) ได้ระบุว่า บุคลากรระดับอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ขาดความรู้
พื้นฐานและทักษะที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, บริหารจัดการและการสอนงาน,
โลหะวิทยา เป็นต้น และทักษะการคํานวณขั้นพื้นฐาน, การประยุกต์ใช้ตัวเลข, การคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา,
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความรู้ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ, การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
นอกจากนี้ วิรัช อยู่ชาและคณะ (2554) ยังพบว่า บุคลากรในระดับอาชีวศึกษายังขาดคุณลักษณะที่สําคัญและจําเป็นใน
การปฏิบัติงาน เช่น การทํางานร่วมกันเป็นทีม, ความรับผิดชอบ, การสนับสนุนช่วยเหลือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็น
ต้น การขาดความรู้พื้นฐาน ทั กษะและคุ ณลักษณะที่สําคัญทําให้บุคลากรกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถทํางานตามที่
ภาคอุตสาหกรรมต้องการได้ และมักจะทํางานในลักษณะของการเป็นผู้ใช้/ผู้ดูแลบํารุงรักษาเทคโนโลยีมากกว่าเป็นผู้
ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยี นอกจากนี้สภาพดังกล่าวข้างต้นยังทําให้บุคลากรกลุ่มนี้ไม่สามารถก้าวทันความก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ซึ่งในที่สุดบุคคลเหล่านี้ก็จะประสบปัญหาในด้านการต่อยอดและ/หรือพัฒนาองค์ความรู้
ของตนเอง
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้างต้นและยกระดับขีดความสามารถของบุคคลทางด้านเทคโนโลยีให้กับภาคการผลิต
และบริการ อันจะนําไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่
18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แห่งชาติ (สวทน.)1 ร่วมกันดําเนินโครงการนําร่อง ‘โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based Technology
School: SBTS)’ โดยคัดเลือกให้ ‘วิทยาลัยการอาชีพพานทอง’ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ตําบล
บ้านเก่า อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นสถาบันการศึกษานําร่องแห่งแรก
ในปี พ.ศ. 2551 สํานักงานนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้เริ่ม
ดําเนินโครงการดังกล่าว ณ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วิทยาลัยอาชีวศึกษา

1
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 โครงการได้โอนมาอยู่ในความดูแลของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แห่งชาติ (สวทน.) แทนสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
2 รายงานฉบับสมบูรณโครงการวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในแนว Project-based Learning สําหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร

เทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)’ โดยได้เปิดการเรียนรู้ในสาขาช่างอุตสาหกรรมและรับผู้เรียนจํานวน 29 คน ในปี


การศึกษา 2552 หลักสูตรโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นําร่องมีเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะและเสริมศักยภาพผู้เรียน
ที่มีความสามารถพิเศษ (gifted and talented children) ทางการประดิษฐ์คิดค้นหรือการพัฒนาเชิงเทคโนโลยี โดย
สร้างเสริมกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น ‘ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี’ หรือ ‘นักเทคโนโลยี’ หรือ
‘นักประดิษฐ์/นวัตกร’ สําหรับประเทศในอนาคต
การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการเสริมสร้างพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนในระดับที่เข้มข้นเทียบเท่าได้กับผู้เรียนในสายสามัญ ขณะที่ผู้เรียนก็ยังมีทักษะหรือ
ความสามารถด้านการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่ด้อยกว่าผู้เรียนในสายอาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้
เชิงบูรณาการแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning - PjBL)2
การเรียนรู้แบบ PjBL เป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และมุ่งเน้นให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความรู้ผ่านกระบวนการสืบค้นโดยอาศัยข้อคําถามที่เกี่ยวข้องกับสภาพจริงที่ยุ่งยากและ
ซับซ้อน และด้านทักษะฝีมือผ่านการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เพื่อใช้แก้ปัญหาภายใต้ข้อคําถามข้างต้น (Markham, Larmer,
and Ravitz, 2003) ลักษณะการเรียนรู้แบบนี้จะอาศัยวัตถุ (objects to think with) ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่คาด
ว่าจะใช้แก้ปัญหานั้นๆ ได้เป็นตัวตรึงหรือยึดโยงผู้เรียนเข้ากับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ หรือสมรรถนะที่คาดหวังของ
หลักสูตร การจัดการเรียนรู้แบบ PjBL จะทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่า ‘สิ่งที่ตนเองกําลังเรียนรู้อยู่นั้นมีความหมาย
และคุณค่า (contextualization) ทั้งต่อตนเองและชุมชนหรือสังคม’ ความรู้สึกเช่นนี้เป็นเสมือนแรงขับเคลื่อนที่ดีต่อ
การเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน และพฤติกรรมเช่นนี้เป็นกลไกสําคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิด
ความเป็นนักประดิษฐ์ (ingenuity) จนนําไปสู่ ‘นักประดิษฐ์หรือนวัตกร’ ตามความมุ่งหวังของโครงการได้
ด้วยจุดเด่นของโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ใน
หลักสูตร ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553 - 2555) สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงได้
ขยายโครงการออกไปยังวิทยาลัยในสังกัดอีก 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ประเภท
อุตสาหกรรม สาขาช่างอุตสาหกรรม, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลําพูน จังหวัดลําพูน ประเภทเกษตรกรรม สาขา
เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร, วิทยาลัยเทคนิคพังงา จังหวัดพังงา ประเภทพาณิชยกรรม สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว และ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเภทคหกรรม สาขาเทคโนโลยีอาหาร โดยที่วิทยาลัยทั้ง 5 แห่งนี้จะมี
มหาวิทยาลัยภาคีในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมโครงการทําหน้าที่ดูแลในฐานะพี่เลี้ยงที่ให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและ
สนับสนุนการดําเนินงาน (ดูรายละเอียดในบทที่ 4)
ในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2555) วิทยาลัยทั้ง 5 แห่งได้ดําเนินการจัดการเรียนรู้แบบ
PjBL โดยมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงเป็นผู้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ ซึ่งผลการดําเนินงานตามรายงานการติดตามผล

2
จากการสืบค้นข้อมูลหลายแหล่ง คณะผู้วิจัยได้พบว่ามีการใช้คําย่อ PBL แทนทั้ง ‘Project-based learning’ และ ‘Problem-based
Learning’ ดังนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความซ้ําซ้อนและสร้างความชัดเจนให้กับผู้อ่าน คณะผู้วิจัยจึงใช้คําย่อ PjBL แทน ‘Project-
based learning’ หรือการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบใช้โครงงานเป็นฐาน และใช้ PBL แทน ‘Problem-based Learning’ หรือการเรียนรู้
เชิงบูรณาการแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
บทที่ 1 บทนํา 3

การดําเนินงานโดย สวทน. เป็นไปได้ด้วยดีในระดับหนึ่ง (เนตร หงษ์ไกรเลิศ, พัทธนันท์ เนาว์ในสิน และกุลธิดา จันทร์


เจริญ, 2554) อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอีกหลายประการในหลากหลายมิติที่ผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งดําเนินการแก้ไขและ
พัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ที่ยังเกิดความแตกต่างกันทั้งในด้าน
ความเข้าใจและการนําไปปฏิบัติของครูผู้สอนและบุคลากรในวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จึงเห็นควรให้มีการศึกษาวิจัย
เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL สําหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
ภายใต้ความมุ่งหวังดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้น 1) การสืบค้นและเปรียบเทียบหลักสูตรและ/หรือ
รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งในและต่างประเทศที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือบ่มเพาะผู้เรียนให้มี
ความเป็นนวัตกรที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และ 2)
การกําหนดรูปแบบที่เป็นต้นแบบให้วิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง รวมทั้งการกําหนดแนวทางที่จะส่งเสริมให้มีการนํารูปแบบ
วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ที่นําเสนอไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และการเสนอแนะแนวทางในการจัด
การเรียนรู้นี้เพื่อการขยายผลไปสู่สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาแห่งอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
โครงการนี้มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบเช่นเดียวกับการพัฒนาผู้เรียนใน
สายสามัญภายใต้โครงการพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษที่ได้ดําเนินการไปแล้วในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน เช่น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์มหิดลวิทยานุสรณ์, โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกํากับ
ดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) โครงการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นต้น

1.2 วัตถุประสงคของงานวิจัย
1) เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนการจัดเรียนการสอนแบบ PjBL ของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นํา
ร่องในวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ในสาขาช่างอุตสาหกรรม, ธุรกิจการท่องเที่ยว, เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร และเทคโนโลยี
อาหาร
2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (comparing/benchmarking) หลักการ, แนวคิด, แนวทาง, กลไกการบริหารและ
จัดการ, รูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ปัจจับด้านบริบท, ปัจจัยนําเข้า, ปัจจัย
ด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิตของวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ในโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และ
ของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่ดําเนินภารกิจที่คล้ายกัน
3) เพื่อจัดทําข้อเสนอแนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ในโรงเรียนเทคโนโลยี
ฐานวิทยาศาสตร์ในวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง

1.3 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
1) ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับหลักการ, แนวคิด, แนวทาง, กลไกการบริหารและการจัดการ รูปแบบและ
วิธีในการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
4 รายงานฉบับสมบูรณโครงการวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในแนว Project-based Learning สําหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร

2) ได้ ผลการเปรี ยบเที ยบข้ อมู ลเชิ งประจั กษ์ ที่ นํ ามาซึ่ งข้ อเสนอแนวทางในการดํ าเนิ นโครงการให้ มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปรับปรุงและการประเมินหลักสูตร และการส่งเสริมรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
PjBL ในวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ให้มีความเข้มแข็ง
3) ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ไป
ยังสถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในระบบปกติและ/หรือสถานศึกษาอื่นใด

1.4 ขอบเขตการดําเนินงานและแหลงขอมูล
งานวิ จั ยนี้ ได้ ศึ กษาข้ อมู ลและผลการดํ าเนิ นงานต่ างๆ ครอบคลุ มวิ ทยาลั ยทั้ ง 5 แห่ ง ได้ แก่ วิ ทยาลั ย
อาชีวศึกษาเทคโนโลยี ฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี), วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี, วิทยาลั ยเกษตรและเทคโนโลยีลํ าพูน,
วิทยาลัยเทคนิคพังงา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี นอกจากการศึกษาข้อมูลจากวิทยาลัยทั้ง 5 แห่งแล้ว งานวิจัยนี้
ยังศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานที่สนับสนุนการดําเนินงานและสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ สวทน. สอศ. และ
มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง อีกทั้งยังศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่ใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้
ในลักษณะดังกล่าวอย่างน้อย 1 ประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ที่สอดคล้อง
กับบริบทโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

1.5 แนวคิดและวิธีการศึกษาวิจัย
เพื่อให้การดําเนินโครงการวิจัยเรื่อง ‘การจัดการเรียนรู้ในแนว Project-based Learning สําหรับโรงเรียน
เทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์’ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ คณะผู้วิจัยได้ดําเนินงาน ดังนี้
1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับหลักการ, แนวคิด, แนวทาง และรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL และ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยป้อน ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิต โดยกําหนดประเด็นเพื่อการศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แนวคิดและหลักการ, รูปแบบและวิธีการจัดการ, ปัจจัยหลัก และปัจจัยเสริมอื่นใดที่เอื้อและที่
เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
2) ศึกษากรณีตัวอย่างประเทศที่ประสบความสําเร็จในการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL อย่างน้อย 1 ประเทศ
3) รวบรวมข้ อมูลและสารสนเทศเกี่ ยวกั บรูปแบบการจั ดการเรียนรู้แบบ PjBL ในโรงเรี ยนเทคโนโลยี
ฐานวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 แห่ง ใน 4 สาขา จากผู้ดําเนินโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยการสัมภาษณ์
การสอบถาม และการประชุมระดมสมอง โดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างหรือผู้แทนจากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง, ผู้บริหาร, ผู้สอน
และผู้เรียนจากโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
4) สังเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แนวโครงงานเป็นฐานที่ได้จาก ข้อ 1)
ถึง 3) มาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 แห่ง กับโครงการที่คล้ายกันในประเทศที่มี
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
5) จัดทําร่างข้อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
บทที่ 1 บทนํา 5

6) ประเมินข้อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ที่คณะผู้วิจัยได้จัดทําขึ้น โดยจัดประชุมกลุ่มย่อย


หรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน
7) จัดเวทีการประชุมวิพากษ์เพื่อหาข้อเสนอแนะหรือข้อปรับปรุงเกี่ยวกับแนวทางรูปแบบการจัดการเรียนรู้
และแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL จากผู้แทนมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง, ผู้บริหาร, ผู้สอนและ/หรือ
ผู้เรียนจากโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจากวิทยาลัยเทคนิคหรืออาชีวศึกษาหรือการอาชีพอื่นใดที่
จัดการเรียนรู้ในรูปแบบปกติและมีศักยภาพที่จะนําแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติได้
8) จัดทํารายงานโครงการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ฉบับสมบูรณ์

1.6 สวนประกอบของรายงานวิจัย
รายงานโครงการวิจัยฉบับนี้ประกอบไปด้วย 7 บท โดยแต่ละบทมีสาระสําคัญ ดังนี้
บทที่ 1 บทนําให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและเหตุผลในการทําโครงการวิจัย, วัตถุประสงค์, ขอบเขต
ของงานวิจัย และแนวทางการดําเนินงานวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนําเสนอความเป็นมา, วัตถุประสงค์ของโครงการ
โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์, เป้าหมายของโครงการ และรูปแบบการเรียนรู้แบบ PjBL ทั้ง
ในและต่างประเทศ
บทที่ 3 การดํ าเนิ นงานวิ จั ยแสดงกรอบการวิ จั ยตามรู ปแบบซิ บป์ (CIPP model) และประเด็ นหรื อ
รายละเอียดต่าง ๆ ที่นํามาซึ่งข้อคําถามในการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามสี่ปัจจัย
กล่าวคือ ปัจจัยด้านบริบท, ปัจจัยนําเข้า, ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิต
บทที่ 4 ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ในโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นําเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับผลการศึกษาตามปัจจัยทั้งสี่ด้านตามรูปแบบซิบป์ในบทที่ 3 ของ
วิทยาลัยในโครงการทั้ง 5 แห่ง
บทที่ 5 ข้อค้นพบเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ในสถานศึกษาต่างประเทศ และการเปรียบเทียบ
นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกระบวนการโบโลญญาที่แสดงถึง
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปและกรอบคุณวุฒิแห่งสหภาพยุโรปที่
มุ่งเน้นการจัดการศึกษาภายใต้มาตรฐานเดียวกันและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย
อาศัยการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นความสามารถในการทํางานได้ และข้อมูลเปรียบเทียบในรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิบป์ของสถานศึกษาในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสกับของวิทยาลัย
ในโครงการทั้ง 5 แห่ง
บทที่ 6 ข้อเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้แบบ PjBL เสนอแนะรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
แห่งการพัฒนาการเรียนรู้, จุดมุ่งหมายทางการศึกษา, แบบจําลองความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบ
PjBL, 5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL, ความต่อเนื่องในการเรียนรู้, สเปกตรัมการเรียนรู้
และบททบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี
6 รายงานฉบับสมบูรณโครงการวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในแนว Project-based Learning สําหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร

บทที่ 7 สรุปผลโครงการวิจัย และข้อเสนอแนะนําเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ผ่าน


มุมมองการเปรียบเทียบในปัจจัยทั้งสี่ด้านตามรูปแบบซิบป์ของวิทยาลัยในโครงการทั้ง 5 แห่ง และ
สถานศึกษาในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์และมาตรการ
ต่าง ๆ หลากหลายระดับ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการเรียนรู้แบบ PjBL ในโครงการโรงเรียนเทคโนโลยี
ฐานวิทยาศาสตร์เป็นไปตามความมุ่งหวังและทําให้โครงการบรรลุตามเป้าหมาย

ศูนยนวัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี

Anda mungkin juga menyukai